ให้บริการรักษาภาวะ
หลอดเลือดสมอง
หลอดเลือดหัวใจ
หลอดเลือดสำหรับฟอกเลือด
แผลเท้าเบาหวาน (Vascular)
หลอดเลือดอื่นๆ
RADIOFREQUENCY ABLATION
บทความโดย แพทย์หญิงเอกอนงค์ วรกิตสิทธิสาธร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขารังสีร่วมรักษา
การจี้ทำลายก้อนเนื้อมะเร็งด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
เป็นวิธีการรักษามะเร็งตับ หรือมะเร็งชนิดอื่นที่กระจายมายังตับ ด้วยการใช้เข็มขนาดเล็กมีคุณสมบัติให้ความร้อนที่ปลายเข็ม เผาทำลายก้อนเนื้อ เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งตับที่ก้อนมีขนาดเล็ก โดยการรักษาวิธีนี้ ปลอดภัย รุกล้ำร่างกายน้อย มีผลข้างเคียงน้อย ไม่มีแผลผ่าตัด พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน และสามารถใช้วิธีนี้รักษาซ้ำได้เมื่อมีก้อนมะเร็งกลับเป็นซ้ำ
หลักการและกลไกในการรักษา
เข็มความร้อน RFA ใช้หลักการของคลื่นวิทยุ ทำให้เกิดความร้อนที่ปลายเข็ม โดยใช้งานร่วมกับเครื่องผลิตพลังงานที่สามารถตั้งค่าให้พลังงานได้และแผ่นรองรับกระแสไฟฟ้าลงดิน พลังงานคลื่นวิทยุที่ถูกส่งออกไปจากขั้วไฟฟ้าจะชักนำให้เกิดไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นภายในอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบปลายเข็ม RFA พลังงานเหล่านี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 90 องศาเซลเซียส เพื่อทำลาย ก้อนมะเร็งโดยรอบปลายเข็มในรัศมีประมาณ 3-5 ชั่วโมง และความร้อนจากเข็มจะทำลายเซลล์มะเร็งอย่างถาวร
ตัวเข็มจะเป็นตัวนำพลังงานเข้ามาภายในตับ ส่งผ่านไปยังก้อนเนื้องอกที่ต้องการเผาทำลาย ก่อนการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการดมยาสลบ แพทย์จะสอดเข็มผ่านทางผิวหนังเข้าไปในตับ เพื่อไปยังก้อนมะเร็งที่ต้องการรักษา โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นเครื่องมือระบุตำแหน่ง และยืนยันความถูกต้องของตำแหน่งเข็มระหว่างทำการรักษา รวมระยะเวลาในการทำการรักษาประมาณ 1 ชั่วโมง
RFA เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มใด
เหมาะใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งตับหรือมะเร็งชนิดอื่นที่มากระจายมายังตับ ที่ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก โดยทั่วไปคือขนาดไม่เกินกว่า 5 ซม. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัดตับได้ เช่น มีภาวะตับแข็งมาก มีโรคประจำตัวอื่นๆที่มีความเสี่ยงในการทำผ่าตัด, ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดจากก้อนมะเร็ง และยังสามารถใช้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัดเพื่อช่วยให้ทำผ่าตัดง่ายขึ้น
การเตรียมตัวก่อนการรักษา
1.รับผู้ป่วยเข้าไว้ในโรงพยาบาลก่อนการรักษา 1 วัน
2.เจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าการแข็งตัวของเลือด การทำงานของตับและไต
3.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
4.งดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการรักษา
5.หลังการรักษา พักฟื้นได้ที่ห้องพักและสังเกตอาการที่โรงพยาบาลอีก 1 คืน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับบ้านในวันรุ่งขึ้นหลังการรักษาได้
การปฏิบัติตัวหลังการรักษา
1.หลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ งดเว้นกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น การออกกำลังกายหักโหม การยกของหนัก
2.หลังการรักษา อาจมีอาการปวดจุกท้อง บริเวณที่ทำการรักษา สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ อาจพบมีอาการจุกแน่นได้อีก 2-3 วันหลังการรักษา
3.ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายเพื่อตรวจติดตามผลการรักษาภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยมีการเจาะเลือด และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
*หมายเหตุ ลักษณะของเข็มและเครื่องกำเนิดพลังงานอาจมีลักษณะแตกต่างกันตามบริษัทผู้ผลิต
หลอดเลือดขอด
เทคโนโลยีการรักษา "เส้นเลือดขอด" ไม่ต้องผ่าตัด แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
การรักษาเส้นเลือดขอดด้วย Radio Frequency (RF) ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ถูกค้นคิดขึ้นมาเพื่อรักษาเส้นเลือดขอดที่ขา (Varicose Veins) เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดซึ่งใช้หลักการเดียวกับเลเซอร์ โดยใช้สายสวน (Fiber Optic) สอดเข้าไปและใช้พลังงานของ Radio Frequency ทำให้เกิดความร้อนจะทำให้เส้นเลือดที่มีปัญหาหดตัว ซึ่งร่างกายจะตอบสนอง โดยการสร้างเส้นใยทำให้เส้นเลือดนั้นตีบและอุดตันไปในที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- อายุมากขึ้น
- ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย 3 เท่า
- รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
- ภาวะอ้วน
- การยืนหรือนั่งนานๆ
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอด...ปล่อยไว้อันตราย! ทำให้เกิด
#ลิ่มเลือดอุดตัน
#เส้นเลือดดำอักเสบ
#เป็นตะคริวบ่อย
โรคเส้นเลือดขอด
โรคเส้นเลือดขอด ภัยเงียบที่แฝงอยู่กับกิจวัตรประจำวันของตัวคุณเอง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ดูแลเอาใจใส่เรียวขาคู่สวยเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดเส้นเลือดขอดขึ้นมาคงเสียความมั่นใจในการสวมใส่กระโปรงหรือกางเกงขาสั้นไม่ใช่น้อย เพราะจากสถิติการเกิดเส้นเลือดขอด จะพบมากในผู้หญิง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีน้ำหนักมาก และผู้ที่นั่งหรือยืนนาน ๆ
เส้นเลือดขอด เป็นโรคที่หลอดเลือดดำในบริเวณใต้ผิวหนังชั้นตื้นมีการโตขยายขนาด คดเคี้ยว สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณขา หลอดเลือดดำจะลำเลียงเลือดกลับเข้าสู่หัวใจในความดันประมาณ 20 มิลลิเมตรปรอท โดยที่เลือดในกล้ามเนื้อขาจะเข้าไปในหลอดเลือดดำส่วนลึก ส่วนเลือดจากผิวหนังและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบนอกจะไหลไปตามหลอดเลือดดำ เมื่อมีความผิดปกติของการรวมกันของหลอดเลือดดำที่ตำแหน่งนี้จะทำให้ เลือดย้อนลงตามหลอดเลือดดำส่วนตื้น ทำให้มีการโป่งขยายตัวของหลอดเลือดดำส่วนปลายที่เรียกว่า ภาวะหลอดเลือดขอด ซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาจากแพทย์ที่พบบ่อยที่สุด
สาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดขอด
อาการแสดงของภาวะหลอดเลือดขอด
เมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดขอด
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากประวัติและการตรวจร่างกายดูเส้นเลือดขอดที่ท่ายืน ท่านอน ท่านั่ง และแพทย์อาจจะส่งตรวจเพิ่มเติมทางรังสีวิทยา ในรายที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดดำส่วนลึก เช่น เคยมีประวัติขาบวม หรือมีแผลที่บริเวณข้อเท้า หรือลักษณะที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นหลอดเลือดขอดที่เป็นแต่กำเนิด
การรักษาโรคหลอดเลือดขอด
• การฉีดยาเข้าหลอดเลือดขอด ทำให้เกิดการแข็งตัวและตีบตัน ตัดการไหลเวียนของหลอดเลือด เหมาะกับหลอดเลือดขอดที่มีขนาดเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร หรือในกรณีทำการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดขอดไปแล้ว แต่ยังมีหลอดเลือดขอดเล็กๆ หลงเหลืออยู่
• การใช้เลเซอร์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมจะใช้รักษาเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยจะส่งพลังงานเข้าไปทำลายเส้นเลือดขอด ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและไม่เจ็บตัวมาก
• ใส่ถุงน่องทางการแพทย์หรือการพันผ้ายืด ถุงน่องจะช่วยพยุงกล้ามเนื้อตรงที่เป็นเส้นเลือดขอด มักจะให้ใส่หลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่น เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นกระชับ ป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดซ้ำ
• การผ่าตัดรักษาเส้นเลือดขอดออก เหมาะกับเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ เส้นเลือดที่มีปัญหาแทรกซ้อน และในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษา “เส้นเลือดขอด” ด้วย Radiofrequency (RF) ถือเป็นหัตถการที่ถูกคิดค้นขึ้นมารักษาเส้นเลือดขอดที่ขา (Varicose veins) เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด โดยใช้สายสวนสอดเข้าไป และทำให้เกิดความร้อน โดยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency) พลังงานความร้อนจะทำให้เส้นขอดที่มีปัญหาหดตัว ซึ่งร่างกายจะตอบสนองโดยทำให้เส้นเลือดขอดนั้นตีบและอุดตันไปในที่สุด ไม่ต้องผ่าตัด แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
การดูแลตัวเองให้ห่างไกลปัญหาเส้นเลือดขอด
ขอบคุณข้อมูล : นพ.สมบูรณ์ ทรัพย์วงศ์เจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทั่วไปและผ่าตัดเส้นเลือดขอด
รายชื่อแพทย์ที่ให้บริการ
-
หลอดเลือดโต ตัน ตีบ แตก
หลอดเลือดสำหรับฟอกเลือด
แผลเท้าเบาหวาน (Vascular)
ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
ศัลยศาสตร์ทรวงอก
ศัลยศาสตร์ทั่วไปและผ่าตัดเส้นเลือดขอด
INTERVENTION CARDIOLOGIST
ประสาทวิทยา
ศัลยกรรมระบบประสาท
หลอดเลือดอื่นๆ
แพคเกจและโปรแกรมตรวจ ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดครบวงจร