ศูนย์เด็กและวัยรุ่น

การที่ลูกมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย ย่อมเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช ให้บริการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น โดยกุมารแพทย์ประจำตลอด 24 ชม ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช เปิดให้บริการ ณ บริเวณ ชั้น 1 ของอาคารด้านหลัง พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัย ดูแล และรักษาพยาบาลตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่นแบบครบวงจร ด้วยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขา และพยาบาลที่มีประสบการณ์ได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางในการดูแลเด็กตลอด 24 ชั่วโมง ครบครันด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมกันนี้เรายังมีการแยกบริเวณสำหรับเด็กแรกเกิดที่มาพบแพทย์และเด็กที่มารับวัคซีน ออกจากเด็กป่วยที่มาพบแพทย์อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ปครองและผู้ป่วยเด็กได้รับบริการภายใต้มาตรฐานคุณภาพอย่างดีสูงสุด

ขอบเขตและการให้บริการ ศูนย์เด็กและวัยรุ่น

ศูนย์เด็กและวัยรุ่นให้บริการดูแลสุขภาพเด็กครบวงจร ด้วยบริการเฉพาะทาง 21 สาขาเชี่ยวชาญ
  1. โรคภูมิแพ้ หอบหืด (Pediatric Allergy and Immunology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ต่างๆ อาทิ หอบหืด แพ้อากาศ แพ้อาหาร ผื่นลมพิษ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ด้วยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ โดยทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test) เพื่อให้ทราบว่าเด็กแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด พร้อมให้คำแนะนำการดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และแนะนำวิธีการใช้ยา ตลอดจนการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ (Allergen Immunotherapy)

  1. โรคทางเดินหายใจในเด็ก (Pediatric Pulmonary)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มทางเดินหายใจและโรคปอด รวมถึงอาการปอดติดเชื้อในเด็ก  รักษาโรคทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ และทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ และนอนกรน เป็นต้น

  1. โรคหัวใจเด็ก (Pediatric Cardiology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด อาทิ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากสาเหตุต่างๆ ลิ้นหัวใจอักเสบ ไข้รูห์มาติก และโรคคาวาซากิ รวมถึงบริการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) หรือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเด็ก

  1. โรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก (Pediatric Gastroenterology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารทั้งหมด ได้แก่ กลุ่มที่มีความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับอ่อน ตับ และทางเดินน้ำดี นอกจากนี้ยังดูแลโรคระบบอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ระบบทางเดินหายใจ  โรคทางเดินอาหาร เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือโรคพันธุกรรมบางชนิด รวมถึงอัลตร้าซาวด์ดูภายในเพื่อวิเคราะห์อาการที่มาของโรค ส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร ตรวจทางเดินอาหารในเด็ก เป็นต้น

  1. โรคติดเชื้อในเด็ก (Pediatric Infectious Diseases)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาภาวะโรคติดเชื้อในเด็กและโรคติดเชื้อทุกชนิด ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และอาการติดเชื้อที่อาจสร้างภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรืออาการอื่นๆ เช่น ปอดบวม เชื้อโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงอาการติดเชื้อเอชไอวี

  1. สมองและระบบประสาทในเด็ก (Pediatric Neurology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษา และวิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดปกติต่างๆ ของสมองและระบบประสาทในเด็ก ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวผิดปกติ อาการปวดศีรษะ อาการชัก ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเลือดออกในสมอง โดยทีมแพทย์เฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์ประสาทวิทยา

  1. พัฒนาการเรียนรู้/ ความผิดปกติของการเรียนรู้ (Child Development)

   บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษา และกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น รวมถึงการประเมินและวินิจฉัยปัญหาพัฒนาการล่าช้า อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความผิดปกติของสมอง กล้ามเนื้อ กลุ่มอาการดาวน์ ปัญหาด้านพฤติกรรม การให้บริการครอบคลุม

  • • การประเมินและให้คำปรึกษาพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และพฤติกรรม
    • การประเมินและให้การรักษาเด็กพิเศษ ออทิสติก สมาธิสั้น และพัฒนาการช้า
  • • การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น ฝึกพูด ฝึกทักษะและการเข้าสังคม
พันธุกรรมต่อมไร้ท่อและเบาหวานในเด็ก (Pediatric Endocrinology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาพร้อมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กและภาวะผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน  อาทิเช่น โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น ภาวะที่เด็กมีตัวเล็กผิดปกติไม่สมวัย โรคกระดูกอ่อน และภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วหรือช้าเกินไป ฯลฯ

เด็กพิเศษ (Child Plus)

   บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาเด็กพิเศษ ที่มีปัญหาการเรียนรู้และเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์จากภาวะต่างๆ เช่น

  • • โรคออทิสติกและแอสเปอร์เกอร์ โรคสมาธิสั้น
  • • ปัญหาทางอารมณ์ เช่น ภาวะวิกฤตกังวล ภาวะซึมเศร้า ปฏิเสธการไปโรงเรียน
  • • ปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น เกเร ก้าวร้าว
  • • ปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงดู​
ทันตกรรมเด็ก (Pediatric Dentistry)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กจนถึงวัยรุ่น  ครอบคลุมทั้งทันตกรรมป้องกัน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพฟันเด็ก การรักษาโรคในช่องปากและฟัน การป้องกันและแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันในช่วงเปลี่ยนจากฟันน้ำนมเป็นฟันแท้ ตลอดจนการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำฟัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก โดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับเด็ก

  1. ทารกแรกเกิด (Newborn Care)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาทารกที่มีภาวะผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมทั้งทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการคลอดและทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด กุมารแพทย์ด้านโรคหัวใจเด็ก ศัลยแพทย์เด็ก สูตินรีแพทย์ พยาบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านปริกำเนิด พร้อมห้องทารกแรกเกิดซึ่งประกอบด้วย เตียงสำหรับทารกปกติ และทารกแรกเกิดที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และทารกที่ป่วยหนักหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องมือพิเศษในการตรวจและดูแล ตลอด 24 ชั่วโมง

  1. กุมารศัลยศาสตร์ ผ่าตัดและรักษาโรคในเด็ก (Pediatric Surgery)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาด้านศัลย์ศาสตร์ทั่วไป โดยทีมกุมารศัลย์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นพิเศษ เช่น การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ถุงน้ำที่ลูกอัณฑะ ภาวะเด็กปวดท้องโดยเฉพาะจากไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตันแต่กำเนิด ภาวะไม่มีรูทวาร ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิด ภาวะไม่มีเซลล์ประสาทที่ผนังลำไส้ นิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ ภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายไม่เปิดที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ และจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บแก่ร่างกาย

  1. จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น (Pediatric and Adolescent Psychiatry)

     ให้บริการตรวจประเมินและรักษาเด็กและวัยรุ่น ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ปัญหาการควบคุมอารมณ์ในเด็ก เพื่อพัฒนาการที่ดี รวมทั้งปัญหาที่พบร่วมกับความเจ็บป่วยทางร่างกาย โดยมีรายละเอียดในการค้นหาข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมทีมสหวิชาชีพประกอบไปด้วย กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยาผู้ให้คำปรึกษา ครูการศึกษาพิเศษ ทำงานร่วมกันในการประเมินปัญหา ประเมินเด็กและวัยรุ่น ประเมินโรงเรียนและครอบครัว และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  1. ฉุกเฉินเด็ก (Pediatric Emergency)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กฉุกเฉิน ครอบคลุมทั้งการเจ็บป่วย โรคทางศัลยกรรม การได้รับสารพิษรวมถึงอุบัติเหตุต่างๆ โดยกุมารแพทย์และกุมารศัลยแพทย์ พร้อมบริการรถพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ครบครันด้วยอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเด็กฉุกเฉินทุกประเภท ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ศัลยกรรมกระดูกและข้อในเด็ก (Pediatric Orthopedics)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคระบบกระดูกและข้อต่างๆ ในเด็ก เช่น

  • กระดูกหักและข้อเคลื่อน
  • อันตรายที่เกิดกับข้อเข่า หลังและเท้าจากการเล่นกีฬา
  • อาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อย เช่น เท้าพลิก ข้อศอกหลุด เคลื่อน กระดูกแขนขาหัก
  • เด็กที่อาจจะมีความผิดปกติของโครงสร้าง เช่น เท้าแบน เท้าปุก ภาวะหลังคด เข้าฉิ่ง
  • การผิดรูปของข้อต่างๆ เช่น สะโพก เข่า เท้า
    ​พร้อมดูแลแบบครบวงจรอย่างต่อเนื่อง โดยทีมศัลยแพทย์ออร์ปิดิกส์เฉพาะทางมากประสบการณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย​
เวชศาสตร์ฟื้นฟูเด็ก (Pediatric Rehabilitation)

     ให้บริการทางด้านกิจกรรมบำบัด จิตบำบัดสำหรับเด็ก รวมถึงบริการรักษาด้านอื่นๆ เช่น การทำกายภาพบำบัดเด็กในเวชศาสตร์ฟื้นฟูเด็ก พักฟื้นเด็กหรืออรรถบำบัดเด็ก การให้โปรแกรมการฟื้นฟูด้านร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจิตใจและอารมณ์ ทั้งในกลุ่มเด็กพิเศษ ได้แก่ เด็กออทิสติก เด็กสมองพิการ หรือเด็กที่มีความพิการทางแขนและขา โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย กุมารแพทย์ แพทย์พัฒนาการเด็ก แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักจิตวิทยา และนักอรรถบำบัด

  1. กุมารแพทย์ทั่วไป (General Pediatric)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคทั่วไปของเด็กตามอาการ และความผิดปกติของระบบต่างๆ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น  โดยทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และพยาบาลที่มีประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกอบรมมาเฉพาะในการดูแลเด็ก ครอบคลุมในการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามวัย การป้องกัน การวินิจฉัย การให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางการเลี้ยงดูเด็ก การประเมินการเจริญเติบโต พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก การตรวจคัดกรองโรคต่างๆ รวมถึงการดูแลและรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤต  ตลอด 24 ชั่วโมง

โรคผิวหนัง (Pediatric Dermatology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก พร้อมตรวจหาความผิดปกติของผิวหนังที่พบทั่วไปในเด็ก โดยกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านผิวหนังเฉพาะทาง อาทิ

  • อาการติดเชื้อและอักเสบที่ผิวหนัง เช่น ผิวหนังติดเชื้อต่างๆ (แบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และปรสิต)
  • ผิวหนังอักเสบ (ผื่นภูมิแพ้ ผื่นแพ้สัมผัส และผิวหนังอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ)
  • โรคผิวหนังในทารกแรกเกิด
  • โรคผิวหนังพันธุกรรม เช่น โรคตุ่มน้ำ โรคสะเก็ดเงิน ผื่นกุหลาบ
  • โรคผิวหนังที่พบร่วมกับโรคในระบบอื่นๆ​
เด็กสุขภาพดี (Well Baby)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามวัย และการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคสำหรับเด็กและวัยรุ่นในช่วงวัยต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม พร้อมด้วยการจัดโปรแกรมฉีดวัคซีนแบบเหมาจ่าย ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนี้

  •  วัคซีนเด็กสำหรับอายุ 1 – 12 เดือน
  •  วัคซีนเด็กสำหรับอายุ 1 – 2 ปี
  •  วัคซีนเด็กสำหรับอายุ 2 – 4 ปี
  •  วัคซีนป้องกันไอพีดี
  •  วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า
  •  วัคซีนป้องกันเอชพีวี
  •  วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
  •  วัคซีนมือ เท้า ปาก
  1. โรคไตในเด็ก (Pediatric Nephrology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาวิเคราะห์โรคเกี่ยวกับไต และให้คำปรึกษาแนวทางป้องกันภาวะลุกลามทางไต ซึ่งเกิดจากโรคพันธุกรรม รวมถึงความผิดปกติของไตและระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่แรกเกิด การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ จนเกิดแผลเป็นที่ไต ถุงน้ำที่ไตที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคไตอักเสบเรื้อรังและกลุ่มอาการเนโฟรติกที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

  1. โรคตาเด็ก (Pediatric Ophthalmology)

     บริการตรวจวินิจฉัยดูแลรักษาโรคตาในเด็กทุกชนิด เช่น

  •  ภาวะสายตาผิดปกติ ได้แก่ สายตาสั้น ยาว เอียง
  •  ภาวะตาเข หรือ ตาเหล่
  •  ภาวะตาขี้เกียจ
  •  โรคมะเร็งจอตาในเด็ก
  •  การตรวจจอประสาทตาทารกที่คลอดก่อนกำหนด

     พร้อมบริการตรวจวัดระดับสายตาตามช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับเด็กเป็นรายๆ ไป ซึ่งสามารถนำเด็กเข้ารับการตรวจได้ตั้งแต่ 3 – 6 เดือน โดยทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก ครบครันด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล

   คลินิกพัฒนาการและส่งเสริมการเรียนรู้

   คลินิกพัฒนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ โรงพยาบาลนนทเวช โดยบุคคลากรสหวิชาชีพผู้ชำนาญการเฉพาะด้านพร้อมช่วยเด็กๆ ให้พัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ เราใส่ใจและร่วมเติบโตเคียงข้างกันไปทุกๆ  ช่วงของชีวิตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น

กุมารแพทย์พัฒนาการ&จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
  • • ให้คำปรึกษาเตรียมพร้อมคุณแม่ตั้งครรภ์คุณภาพ ส่งเสริม bonding&attachment
  • • ติดตามพัฒนาการปกติตามช่วงอายุและในทารกกลุ่มเสี่ยง
  • • ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาพัฒนาการ การเรียนรู้ พฤติกรรม การเลี้ยงดู
  • • ตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาภาวะผิดปกติ เช่น สมาธิสั้น ออทิสติก การเรียนรู้บกพร่อง(LD) วิตกกังวล ซึมเศร้า ติดเกม
นักกระตุ้นพัฒนาการ
  • • Baby Training กระตุ้น/ส่งเสริมพัฒนาการทารกปกติ/กลุ่มเสี่ยง (แรกเกิดถึง 2 ขวบ)
  • • Suck & Swallow Training กระตุ้น/ส่งเสริมการดูดกลืนในเด็กทารกและการเคี้ยวการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
นักจิตวิทยาพัฒนาการ&จิตวิทยาคลินิก/เทคนิค
  • • ตรวจวัดIQ และ ทดสอบระดับการเรียนรู้
  • • Parent Management Training โรงเรียนพ่อแม่ เทคนิคการเลี้ยงลูกและฝึกวินัยเชิงบวก รับมือปัญหาพฤติกรรม เรียนรู้การเลี้ยงดูลูกเจเนอเรชั่นใหม่
  • • Behavior Therapy ปรับพฤติกรรมทักษะจัดการความโกรธ การผ่อนคลายตนเอง ฝึกให้มีสมาธิ ทักษะทางสังคม
นักกิจกรรมบำบัด
  • • Sensory Integration ปรับกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส
  • • Promote EF กิจกรรมส่งเสริมทักษะการทำงานของสมองส่วนหน้า
นักอรรถบำบัด
  • • Speech Therapy ปรับแก้ไขภาษาสื่อสารและการพูด พูดไม่ชัด
ครูการศึกษาพิเศษ
  • • Special Education สำหรับหนูๆ ที่มีการเรียนรู้บกพร่อง เทคนิคการเรียนรู้และหลักสูตรพิเศษเฉพาะบุคคล (IEP) ให้คำปรึกษาระบบโรงเรียน การค้นหาความาสามารถแบบรอบด้าน Multiple Intelligence
Individual Counseling การให้คำปรึกษาเฉพาะราย อาทิ
  • • ปัญหาครอบครัวเตรียมหย่าร้าง
  • • เตรียมพร้อมมีน้องใหม่
  • • ติดเกม /Cyber bullying
  • • การปรับตัวของวัยรุ่น
  • • สงสัยว่าเป็นซึมเศร้า

   สาเหตุที่พบบ่อยของ "เด็กพูดช้า"

1.ปากหนักพูดช้าตามพันธุกรรม
  •   พัฒนาการด้านอื่นปกติ รวมทั้งความเข้าใจภาษา
  •  ส่วนใหญ่เด็กชาย มีประวัติพันธุกรรม
  •  ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 ขวบจะพูดได้ และเมื่อเริ่มแล้วจะพัฒนาเร็วมาก(ต่อยหอย) และจะไม่ทิ้งร่องรอยความผิดปกติ

**ถึงจะเป็นภาวะที่ปกติ แต่หากไม่ได้รับการกระตุ้นก็อาจส่งผลเสียต่ออารมณ์และการเรียนรู้ของเด็ก

2.การเลี้ยงดูที่ขาดการกระตุ้น ปล่อยปละละเลยหรือช่วยเหลือมากเกินไป ให้ใช้หน้าจอก่อน 2 ขวบ

มักมีพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและปฏิสัมพันธ์บกพร่องด้วย จนบางครั้งแยกยากจากภาวะออทิสติก (บางท่านเรียกออทิสติกเทียม)

**ภาวะนี้จะว่าแก้ง่ายสุดก็ใช่ เพราะหากผู้ปกครองยอมปรับเปลี่ยน เด็กมักจะกลับมาเป็นปกติง่ายมาก (ไม่เกิน6เดือน) หรือจะบอกว่าแก้ยากสุดก็ไม่ผิด หากเด็กจมอยู่กับสภาพเช่นนี้นานๆ จากที่เป็นเด็กปกติก็จะกลายเป็นผิดปกติถาวร (จมอยู่กับหน้าจอนานกว่า 2 ปี ทำให้ IQ ลดลงโดยที่ไม่สามารถแก้กลับได้)

3.การได้ยินผิดปกติ
  •  อาจไม่ถึงกับหูหนวก แต่มีบางคลื่นความถี่ที่ได้รับผิดปกติ
  •  เป็นความผิดปกติที่แก้ไขได้หากรู้ได้เร็ว มีคำแนะนำสากลบอกว่า ถ้าเด็ก 2 ขวบที่พัฒนาการภาษาล่าช้าต้องได้รับการตรวจการได้ยินอย่างละเอียด การตรวจคัดกรองเบื้องต้นตอนแรกเกิดอาจไม่เพียงพอ
4.ออทิสติก (แท้ๆ)

ASD DSM-5 ต้องมีทั้ง ABCD

A : พัฒนาการ-มี 3ใน3
  • 1.บกพร่องในการแสดงอารมณ์/สนใจร่วม (Social Emotional Reciprocal)
  • 2.บกพร่องสื่อสาร (Non Verbal Communication)
  • 3.บกพร่องในการสร้างและคงความสัมพันธ์ (นอกเหนือจากผู้เลี้ยงดู Develop and Maintain Relationship)
B : พฤติกรรม มี 2ใน 4
  • 1.พฤติกรรมซ้ำๆ (Stereotyped repetitive speech/use of object)
  • 2.ยึดติด (Excessive adherence to routine)
  • 3.หมกมุ่น จดจ่อกับบางสิ่งอย่างมาก (Restricted and Fixated interests)
  • 4.ตอบสนองสิ่งกระตุ้นมากหรือน้อยผิดปกติ (Hyper-or Hypo-reactivity to sensory input)
C : อาการเป็นตั้งแต่เด็กตอนต้น
D : เกิดบกพร่อง เป็นข้อจำกัดในการดำรงชีวิต
  • เด็กอยู่กับผู้เลี้ยงดูเป็นส่วนใหญ่ ลึกๆ แล้วผู้เลี้ยงดูจะรู้ธรรมชาติของลูกตัวเองได้ดีกว่าหมอ ลองปรับเปลี่ยนส่วนที่ทำได้ดูก่อน (โดยเฉพาะ Digital detoxication) สัก 1-2เดือนก่อน หากเหลือบ่ากว่าแรง มาให้คุณหมอช่วยประเมินนะคะ
พัฒนาการด้านภาษาล่าช้า
อายุ
พฤติกรรมพัฒนาการทางภาษา
แรกเกิด-4 เดือน ไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่เด็กกำลังตื่นดี
5-7 เดือน ส่งเสียงน้อย หรือไม่ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู
9-12 เดือน ไม่หันหาเสียง ไม่ทำเสียงเลียนเสียงพยัญชนะอื่นนอกจาก “อ”
15 เดือน ไม่พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 1 คำ (ไม่รวม "พ่อ, แม่ , ชื่อญาติ และสัตว์เลี้ยง" )
18 เดือน ไม่เข้าใจ หรือไม่ทำตามคำสั่งอย่างง่าย พูดคำโดดที่มีความหมายได้น้อยกว่า 3 คำ (เช่น หมา, แมว, น้ำ)
2 ปี ไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำต่อเนื่องกัน  (เช่น ไม่เอา, ไปเที่ยว, กินข้าว) หรือพูดคำศัพท์น้อยกว่า 50 คำ
2 ปีครึ่ง ไม่พูดวลียาว 3-4 คำ (เช่น ไปหาแม่, ไม่อาบน้ำ, พ่อมานี่) ยังทำเสียงไม่เป็นภาษา
3 ปี ไม่พูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์ (เช่น แม่กินข้าว, หมากัดพ่อ, พี่ตีแมว) ผู้อื่นฟังภาษาที่เด็กพูดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
4 ปี เล่าเรื่องสั้นๆ ไม่ได้ คนที่ไม่คุ้นเคยเข้าใจภาษาที่เด็กพูดได้น้อยกว่าร้อยละ 75

ขอบคุณข้อมูล
พญ.พนิดา รณไพรี
กุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม 
ศูนย์เด็กและวันรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช

 

พร้อมให้คำปรึกษาและรักษาโดยทีมกุมารแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านพัฒนาการเด็ก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ ศูนย์เด็กและวัยรุ่น 0-2596-7888 ต่อ 3107