ทั้งนี้อาการผิดปกติของโรคปอดระบบทางเดินหายใจมักเริ่มด้วย อาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ไอแห้ง หรือเสมหะบางครั้งมีเลือดปน ซึ่งมีสาเหตุจากพยาธิสภาพในปอดต่างกัน อาทิเช่น
- โรคปอดจากการติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด ฯ
- โรคปอดจากภูมิแพ้ เช่น หอบหืด ฯ
- โรคปอดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ถุงลมปอดโป่งพองเนื่องจากสูบบุหรี่
- โรคปอดจากลิ่มเลือดอุดตัน
- โรคปอดเนื้องอกชนิดร้ายแรง เช่นมะเร็ง และไม่ร้ายแรง
- โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ เช่น
- ปอดอักเสบจากการทำงานที่เกิดจากการสูดหายใจเอาฝุ่นละอองต่างๆ เข้าไป (pneumoconiosis)
- การหายใจรับสารแอสเบสตอสหรือเส้นใยหิน (asbestosis)
- การหายใจรับสารซิลิคอนไดออกไซด์หรือฝุ่นทราย (silicosis)
- การหายใจรับสารเบริลเลียม (berylliosis)
- โรคปอดจากโลหะหนัก เช่น อะลูมิเนียมหรือสารประกอบของอะลูมิเนียม
- หอบหืดจากการทำงาน
- ปอดอักเสบภูมิไวเกิน (hypersensitivity pneumonitis)
- โรคทางเดินหายใจส่วนบนที่เกิดจากสารภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองในที่ทำงาน
- ปอดอักเสบจากการทำงานที่เกิดจากการสูดหายใจเอาฝุ่นละอองต่างๆ เข้าไป (pneumoconiosis)
- โรคเยื่อหุ้มปอด เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ
ซึ่งศูนย์ระบบทางเดินหายใจสามารถให้การตรวจวินิจฉัยด้วยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัย ซึ่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ เช่น
- การตรวจเอกซเรย์ปอด (chest x-ray)
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose computed tomography) เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้แสงเอกซเรย์น้อยกว่าปกติ เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี และทำให้เห็นภาพชัดเจนแบบ 3 มิติ
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ (biopsy)
- การส่องกล้องตรวจหลอดลมและการตัดชิ้นเนื้อ (bronchoscopy)
- การตรวจสมรรถภาพปอด (pulmonary function testing)
- การทดสอบความไวของหลอดลมโดยใช้สารกระตุ้น methacholine
การรักษา
ด้วยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งด้านการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดด้วยมาตรฐานสูง และการประสานกับศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ในการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอด รวมถึงการบำบัดก่อนและหลังการผ่าตัดโรคปอด เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ