หลายคนบอกว่าอยากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ไม่เคยสังเกตอาการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่คอยทำร้ายสุขภาพของตนเองเลย โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่คนเมืองในยุคปัจจุบันมักจะละเลยและปล่อยให้มีปัญหากันอยู่บ่อยๆ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ระบบทางเดินปัสสาวะ จะประกอบด้วยไตทั้ง 2 ข้าง ต่อลงมาสู่ท่อไตจะเป็นกระเพาะปัสสาวะระบบทางเดินปัสสาวะ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง ส่วนบนจะประกอบด้วยไตและท่อไต ส่วนล่างจะเป็นกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและหูรูด
ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะทำงานแตกต่างกันไปส่วนบนจะกรองของเสียจะได้เป็นน้ำปัสสาวะออกมา และต่อมาก็จะไหลลงมาสะสมไว้ที่กระเพาะปัสสาวะในระดับที่พอดี และเมื่อเต็มแล้วร่างกายก็จะมีการขับปัสสาวะออกมาให้หมด ซึ่งสังเกตได้ว่าอวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบางเดินปัสสาวะนั้นมีความสำคัญและทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป
อาการผิดปกติ
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะบ่อย เมื่อปวดแล้วต้องรีบเข้าห้องน้ำ
- ปัสสาวะไม่สุด บางคนถึงกับปัสสาวะไม่ออกเลยก็ได้ อาการเหล่านี้อาจจะเกิดการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยต้องมาเข้ารับการตรวจเบื้องต้นโดยการตรวจน้ำปัสสาวะ หรือตรวจอย่างละเอียดโดยการส่องกล้องในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคที่พึงระวัง..ของระบบทางเดินปัสสาวะ
1. กลุ่มของการติดเชื้อ สำหรับโรคในกลุ่มนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ไตลงมา เช่น โรคกรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะ อักเสบซึ่งจะพบมาในผู้หญิง สาเหตุจะแตกต่างกันออกไปแต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากการดื่มน้ำน้อย การกลั้นปัสสาวะ จนเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบและอาจจะเป็นนิ่วได้ในที่สุด
2. กลุ่มของเนื้องอกหรือมะเร็ง ถ้าในส่วนของไตข้างบนก็จะเป็นมะเร็งที่เนื้อไตกรวยไตหรือท่อไต ในกลุ่มนี้คนไข้บางคนจะไม่มีอาการ แต่บางคนอาจจะปัสสาวะเป็นเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อซึ่งถ้ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ต้องรีบมาตรวจ
ในส่วนของผู้ชายมักจะมีปัญหาของต่อมลูกหมากร่วมด้วย ซึ่งจะแบ่งได้ 2 ประเภท
- - ต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยชาวไทยส่วนมากจะพบว่าเป็นต่อมลูกหมากโตธรรมดา
- - มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งชนิดนี้ถือว่าเป็นโรคของระบบทางเดินปัสสาวะชนิดหนึ่ง
3. กลุ่มของการปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้แก่ กระเพาะปัสสาวะและหูรูด ส่วนใหญ่จะมีอาการปัสสาวะเล็ดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปัสสาวะบ่อยคนไข้ส่วนใหญ่ที่มาตรวจ จะพบในกลุ่มนี้มากที่สุดอาจจะเกิดจากไอจามเรื้อรัง หรืออุ้งเชิงกรานมดลูกหย่อนยาน
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต ?
ส่วนใหญ่แล้วปัญหาสุขภาพชาย พบมากเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โรค 3 อันดับแรกที่พบบ่อยในผู้ชายวัย 40 คือ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคระบบทางสุขภาพเพศชาย, ระบบทางเดินปัสสาวะและปัญหาทางสมรรถภาพ
โรคต่อมลูกหมากโต คือ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย โดยมีอาการเริ่มต้น คือ ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มากกว่า 2 ครั้ง/คืน โดยแต่ละครั้ง มีปริมาณไม่มาก ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะบ่อย
หากมีอาการต่อมลูกหมากโตมากขึ้น จะส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะไม่ค่อยออก จนต้องออกแรงเบ่งมากขึ้น และถ้าอาการรุนแรงอาจมีเลือดปนออกมาด้วย อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้เลยทีเดียว
โรคต่อมลูกหมากโต ห้ามกินอะไร ?
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโตนั้น คือเรื่องของการบริโภคอาหารที่อาจไปกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะให้มีการทำงานที่ผิดปกติจนเกิดเป็นโรคต่อมลูกหมากโตได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มดังต่อไปนี้
- อาหารไขมันสูง
- ชีส เฟรนช์ฟราย ไก่ทอด เบเกอรี่ ของทอด ของมัน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- มีผลต่อการปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะออกมาเป็นจำนวนมาก กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองได้
- เนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนม
- เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ นม เนย และชีส เพิ่มความเสี่ยงภาวะต่อมลูกหมากโต
วิธีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตมีกี่วิธี มีวิธีใดบ้าง ?
- รักษาด้วยการรับประทานยา
- รักษาด้วยการผ่าตัด
ในกรณีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะดูตามระยะของโรค หากอยู่ในระดับ 1-3 รักษาโดยการผ่าตัด
นอกจากการหลีกเลี่ยงอาหาร ที่ส่งผลทำให้ต่อมลูกหมากโตแล้ว ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองเวลาปัสสาวะ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่หากพบว่าตัวเองมีอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะเบา อ่อนแรง ปัสสาวะไม่ค่อยออก ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยๆ หรือมีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที
FAQs
- ปัญหาสุขภาพของผู้ชายช่วงอายุที่พบมากที่สุด เริ่มตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ?
- ส่วนใหญ่แล้วปัญหาสุขภาพชาย พบมากเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- โรคที่พบมาก ในผู้ชายวัย 40 ปี ขึ้นไป 3 อันดับแรก คือโรคอะไร ?
- โรคที่พบบ่อยในผู้ชาย 40 ปี ขึ้นไป 3 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน และโรคระบบทางสุขภาพเพศชาย ระบบทางเดินปัสสาวะและปัญหาทางสมรรถภาพ
- ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ ?
- หากถามถึงปัจจัยเสี่ยง อันดับแรกต้องดูก่อนว่าคุณมีปัญหาโรคอะไรบ้างที่ทำให้เรามีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งก็คือ ในส่วนของต่อมลูกหมาก ซึ่งมักจะเริ่มโตขึ้นตามอายุของเรา ซึ่งก็จะแบ่งกลุ่ม คือ โตแบบธรรมดา และกลุ่มของมะเร็งต่อมลูกหมาก และอีกโรคหนึ่งที่พบมาก คือ การเสื่อมสมรรถภาพ ซึ่งหากถามว่าเมื่อเราอายุ เกิน 40 แล้วทำไมถึงมีปัญหาเหล่านี้
- เนื่องมาจากฮอร์โมนเพศชายจะเพิ่มสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 40 ปี และจะลดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัย 40 เป็นต้นไป แต่ก็จะลดลงอย่างช้าๆ ไม่เหมือนกับในผู้หญิง ซึ่งฮอร์โมนจะลดลงเร็วกว่า
โดยปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 2 สาเหตุ
- 1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อาหารการกิน เช่น อาหารไขมันสูง
- 2.ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม
ส่วนปัจจัยเสี่ยงของความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น ฮอร์โมนลดลง และโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ
- อาการเริ่มต้นของโรคระบบทางเดินปัสสาวะ?
-
อาการเริ่มต้น คือ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มากกว่า 2 ครั้งต่อคืน โดยแต่ละครั้งมีปริมาณไม่มาก หากมีอาการมากปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น ถึงขั้นปัสสาวะไม่ออก
- กลุ่มมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะเริ่มแรกจะการแสดงไม่มีอาการ
- กลุ่มเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ระยะแรกจะมีอาการตอบสนองช้าต่อสิ่งกระตุ้น
- คำแนะนำในการดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ
-
สำหรับกลุ่มโรคทางระบบทางเดินปัสสาวะทั่วไป
- ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน และควรสังเกตสีของปัสสาวะ หากมีสีเข้มแสดงว่าร่างกายของเราขาดน้ำ
- ไม่ควรอั้นปัสสาวะ เป๋นเวลานาน ๆ ปรับการปัสสาวะให้มีความพอดี ครั้งละประมาณ 1 แก้ว หรือ 250 CC.
- สำหรับผู้ชาย เมื่ออายุเข้าสู่ 50 ปี ควรตรวจเลือดเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ให้ตรวจเช็คตั้งแต่อายุ 40 ปี และพบแพทย์ทางศัลยกรรมระบบปัสสาวะ เพื่อตรวจเช็คมะเร็งต่อมลูกหมาก
- คำแนะนำในการดูแลตัวเอง สำหรับผู้ป่วย
- สำหรับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต รักษาโดยการทานยา หากมีอาการผิดปกติอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- กรณีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จะต้องดูตามระยะของโรค หากอยู่ในระดับ 1-3 รักษาโดยการผ่าตัด
- กรณีการเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย ต้องดูแลสุขภาพร่างกาย ไม่ทานอาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกาย เพื่อเป็นการบำรุงระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบประสาท เพราะถ้าระบบหลอดเลือดและระบบประสาทดี ระบบต่าง ๆ รวมถึงระบบสมรรถภาพก็จะแข็งแรงและสมบูรณ์ตามไปด้วย
อ้างอิง :
บทความ เรื่อง ล้วงลึกแต่ไม่ลับ กับปัญหาสุขภาพชาย
https://www.nonthavej.co.th/Urinary-system-disease.php
บทความ เรื่อง เช็คอาการส่อเค้า โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
https://www.nonthavej.co.th/urology.php
นพ.ทวีพงษ์ เหลืองอ่อน
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ