เพราะภาวะเข่าเสื่อมไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิม ทั้งนี้อาการจะค่อยๆ ลุกลามไปเรื่อยๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมให้เกิดช้าลง ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป เพราะถ้าทิ้งไว้นานๆ กระดูกจะสึกหรอมากขึ้นกว่าเข่าค้อม (โก่งออกด้านข้าง) จะทำให้ขาสั้นเดินกระเผลกมากขึ้นและปวดหลังได้ ซึ่งจะต้องถึงขั้นผ่าตัด หรือใส่ข้อเข่าเทียม
แนวทางดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดข้อเข่าเสื่อมหรือฟื้นฟูให้กลับมาแข็งแรงด้วยการบริหาร อ่านต่อ!
ข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่เกิดกับใคร ?
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาที่พบบ่อยใน
- วัยสูงอายุ
- วัยหนุ่มสาวที่ใส่ส้นสูงนานๆเดิน-ยืนมากๆ
- น้ำหนักตัวมากยกของหนักเป็นประจำ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ
- เคยได้รับอุบัติเหตุหกล้มเข่ากระแทก มีปัญหาจากหลังนานๆ
- โรคข้อต่างๆ รูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคเก๊าท์
ทั้งนี้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมในวัยสูงอายุเป็นภาวะที่รบกวนกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมาก ทำให้การลุกยืน ก้าวเดิน หรือขึ้นบันได ทำได้ค่อนข้างลำบาก บางครั้งกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ไปไหนมาไหนไม่ได้สะดวก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานข้อที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นตามวัย ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลข้อเสื่อมมากยิ่งขึ้น
การฟื้นฟู ข้อเข่าเสื่อม ทำได้ง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
แนวทางการฟื้นฟู ดูแลตัวเอง และป้องกัน ไม่ให้เกิดข้อเข่าเสื่อม
การฟื้นฟูข้อเข่าเสื่อมนั้น มีด้วยกันหลายวิธี โดยเฉพาะวิธีการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าด้วยการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ก็ถือเป็นการดูแลและฟื้นฟูเข่าได้อย่างดี รวมถึง
- คุมน้ำหนักตัวให้เหมาะกับอายุและอาชีพ
- อายุยิ่งมากกระดูกก็ยิ่งบาง ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น ผู้สูงอายุไม่ควรขึ้น-ลงบันได
- นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อไม่ต้องงอเข่ามาก
- นั่งเก้าอี้ที่สูงพอเข่าตั้งฉากเท้าถึงพื้น (ไม่ควรนั่งโซฟานิ่มๆ) ไม่นั่งกับพื้นนานๆ
- หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ
- การเดิน ขึ้น-ลงบันได ให้ก้าวขาดีขึ้นแล้วตามด้วยขาที่เจ็บและตอนลงให้ก้าว ขาเจ็บลงแล้วตามด้วยขาดี (บนบันไดขั้นเดียวกัน)
ฟื้นฟูเข่าเสื่อม ให้กลับมาแข็งแรง ด้วยการบริหารเข่า
บริหารไม่ต้านน้ำหนัก (ถ้ามีปลอกเข่าก็สวมด้วย)
- 2.1 ท่าเหยียดเข่า
- • ท่านอนหงาย นอนหงาย วางเขาลงบนหมอนข้าง (รองใต้ขาพับ) เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา เข่าเหยียดตรง (ส้นเท้าลอยจากพื้น ต้นขาอยู่กับที่ นับ 1-10 ทำจนครบ 10 ครั้ง)
-
2.2 ท่างอเข่า นอนคว่ำหมอนรองที่หน้าท้องบริเวณบั้นเอวก้นและหลัง (ถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง) ถ้าเข่ามีเสียงดังให้งอแค่ตั้งฉาก ถ้าไม่มีเสียงให้งอเต็มที่ การบริหารท่านี้ หากงอเข่าแม้เพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดให้หยุดทำ ต้องรักษาให้หายอักเสบก่อน
หากมีอาการปวดเข่า จากโรคข้อเข่าเสื่อม เข่ายังมีอาการบวมหรือยังเจ็บอยู่ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป ถ้าทิ้งไว้นานๆ กระดูกจะสึกหรอมากขึ้นกว่าเข่าค้อม (โก่งออกด้านข้าง) จะทำให้ขาสั้นเดินกระเผลกมากขึ้นและปวดหลังได้ โดยการรักษาเบื้องต้นคือหยุดพักเป็นอันดับแรก ถ้าเกิดมีอาการเจ็บให้ประคบเย็น ใช้ยาลดอาการอักเสบ ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า และการกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดต่างๆ รวมถึงการผ่าตัดหรือใส่ข้อเข่าเทียม
อ้างอิง :
บทความ เรื่อง ปวดเข่า
https://www.nonthavej.co.th/Knee-Pain-Symptoms.php
บทความ เรื่อง การออกกำลังสำหรับ อาการปวดเข่าด้านหน้า
https://www.nonthavej.co.th/Knee-Pain-Symptoms-execises-treatment.php
นพ.ชัชวาล ปิยะวรรณสุทธิ์
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางกระดูกสันหลัง
ศูนย์กระดูกและข้อ