การเลือกอาหารที่เหมาะสม ช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้ เนื่องจากสารอาหารหลายชนิดมีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต ดังนี้
♦ โซเดียม คนส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมปริมาณมากจากเครื่องปรุงรสเช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส
> อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารกระป๋อง
> อาหารหมักดองเช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น
> อาหารตามธรรมชาติ เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผัก ผลไม้ และไขมันมีปริมาณโซเดียมเพียงเล็กน้อย
จากการศึกษาพบว่า การได้รับโซเดียมน้อยลงช่วยลดความดันโลหิตได้
♦ โพแทสเซียม พบมากในผัก ผลไม้ และถั่วชนิดต่างๆ มีงานวิจัยพบว่าผู้ที่ได้รับโพแทสเซียมสูง จะมีความดันโลหิตต่ำ โดยโพแทสเซียมจะเพิ่มการขับน้ำและโซเดียมออกจากร่างกาย จึงช่วยป้องกันและควบคุมความดันโลหิตสูง
♦ แคลเซียม พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก และผักสีเขียวเข้มบางชนิด ช่วยควบคุมความดันโลหิตและควบคุมน้ำหนักตัว
♦ แมกนีเซียม พบมากในผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ มีบทบาทในการยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลง
♦ แอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 แก้วต่อวันมีผลในการเพิ่มความดันโลหิต 3 มิลลิเมตรปรอด จึงควรงดหรือควบคุมปริมาณให้น้อยลง
อาหารแดช..นอกจากช่วยลดความดันโลหิตแล้วยังช่วยลดปัยหาสุขภาพอื่นๆ ได้เนื่องจาก
- ► มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลต่ำ ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด โดยเฉพาะ LDL (ไขมันไม่ดี)
- ► กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือดแม้ว่าโอเมก้า 3 ไม่ช่วยในการลดโคเลสเตอรอลแต่ไม่ทำให้โคเลสเตอรอลเพิ่ม
- ► กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล โดยไม่ลด HDL (ไขมันดี) จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
- ► โพแทสเซียมสูง ช่วยปรับสมดุลของโซเดียม ช่วยลดความดันโลหิต
- ► แมกนีเซียมสูง ช่วยลดความดันโลหิต
- ► ใยอาหารสูง ช่วยลดโคเลสเตอรอล ชะลอการดูดซึมน้ำตาลช่วยระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ ขจัดสารพิษออกจากร่างกายและลดสารก่อมะเร็ง
- ► สารพฤกษเคมีหรือไฟโตนิวเทรียนท์ ที่พบในผักและผลไม้เช่น แคโรทีนอยด์ แอนโทไซยานิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันมะเร็ง
- ► แคลเซียมสูง ช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนและมะเร็งลำใส้ใหญ่ ลดความดันโลหิต และควบคุมน้ำหนัก
- ข้อปฏิบัติในการป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูง
- • ถ้าน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรลดน้ำหนักลงร้อยละ 5 จากน้ำหนักปกติ หรือประมาณ 4 – 5 กิโลกรัม
- • จำกัดการบริโภคไขมัน
- • จำกัดการบริโภคเกลือ
- • จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• ออกกำลังกาย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก
แผนกโภชนบำบัด
โรงพยาบาลนนทเวช