เส้นประสาทข้อมือถูกเบียดกด

เส้นประสาทข้อมือถูกเบียดกด

     เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดชาที่ฝ่ามือเป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานในวัยกลางคนขึ้นไปและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หญิงตั้งครรภ์หรือน้ำหนักมาก

    •  
    • อาการและอาการแสดง
    •  
    • • รู้สึกชาที่ฝ่ามือเป็นเหน็บบริเวณนิ้วโป้ง ชี้ กลาง นางหรือปลายนิ้วทั้งสี่ บางรายรู้สึกปวด/ล้าข้อมือหรือฝ่ามือ บางรายเป็นมากอาจร้าวมาที่แขน การสะบัดมือหรือพักมือชั่วคราวจะรู้สึกดีขึ้น มักมีอาการมากขึ้นขณะใช้ข้อมือนานๆ เช่น ถือของ หมุน บิดข้อมือ ขัด ถู หรืออาการมากในตอนกลางคืน/ตื่นนอนเช้า
    •  
    •  
    • • อาการเกิดเป็นพักๆ ขณะตื่นนอน ขณะใช้ข้อมือนานๆเช่น ถือของ ขณะขับรถ ถ้าเป็นมากจะมีอาการตลอดเวลา มีอาการอ่อนแรง การใช้มือไม่ถนัด หยิบของขนาดเล็กลำบาก ถ้าเป็นมากกล้ามเนื้ออุ้งมือด้านนิ้วหัวแม่มือจะลีบลงได้
  •  
  • สาเหตุ
  •      ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนว่า โดยปกติเส้นประสาทมีเดียนจะทำหน้าที่นำกระแสประสาทรับความรู้สึกและการควบคุมกล้ามเนื้อจากต้นแขนสู่มือ โดยจะลอดผ่านช่องหรืออุโมงค์ Carpel Tunnel นี้พร้อมๆกันเส้นเอ็น (Tendon) อื่นที่ใช้ในการกำมือ บริเวณนี้ประกอบมาจากแผ่นเอ็นบางๆ (Ligament) ปิดอยู่ด้านบน ส่วนล่างเป็นชิ้นกระดูกข้อมือที่เรียงตัวติดๆกันที่ทอดตัวผ่าน
 
ดังนั้นเมื่อช่องหรืออุโมงค์ (Carpal Tunnel)
ดังกล่าวแคบลงสาเหตุจาก
1. การบวมหรือหนาตัวขึ้นของเอ็นและเยื่อหุ้มข้อกระดูก (Synovium) จากการใช้งานมากขึ้น
2. การบาดเจ็บทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เช่น การใช้งานต่อเนื่องนานๆ
3. การเกิดปุ่มเส้นประสาทหรือกระดูกงอก รวมทั้งการมีการก้อนไขมัน ภายอุโมงค์ Carpal Tunnel
 
     เมื่อเส้นประสาทถูกกดเบียดทำให้เกิดอาการชาปวดหรือมีอาการอ่อนแรงและกล้ามเนื้อลีบลงได้
 
 
การวินิจฉัย
     แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อแยกโรคอื่นๆที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายๆกันได้ออกไป เช่น โรคของรากเส้นประสาทถูกกดบริเวณกระดูกต้นคอหรือโรคในประสาทไขสันหลัง เป็นต้น
 
     หากมีความจำเป็น แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยตรวจการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาทและการตอบสนองของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทควบคุมเพื่อประกอบการวินิจฉัย
 
 
 
  • การรักษา
  •  หากมีอาการในระยะแรกที่เป็นไม่มาก ควรลดและพักการใช้ข้อมือ หลีกเลี่ยงการยกของ งอหรือพับข้อมือ 1-2 สัปดาห์
  •  การรักษาด้วยยา โดยการใช้ยาลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช้สเตียรอยด์หรือการฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์ที่บริเวณอุ้งมือซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเหน็บชาได้ดี แต่ปัญหาพังผืดที่รัดจะยังคงมีอยู่
  •  การผ่าตัด โดยการตัดผังผืดที่รัดเส้นประสาทออก ซึ่งจะเลือกทำในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือมีอาการมากแล้ว
  •  การรักษาแบบประคับประคอง โดยการลดการใช้งานของมือและข้อมือ สวมที่ประคับประคองข้อมือ (Wrist Splint) ในตอนกลางคืน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดและเหน็บชาได้
  •  
  • การป้องกัน
  • • ลดการใช้มือกำหรือจับของในท่าบีบแน่น
  • ถ้าต้องการใช้มือกำอุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือนมากๆ เช่น สว่าน ควรมีการหยุดพักทุก 15 - 20 นาที
  •  หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าหักงอหรือบิดข้อมือนานๆ เช่น การนั่งพิมพ์ดีด การคีย์แป้นคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  •  รักษามือให้อุ่น ถ้าต้องทำงานเกี่ยวกับความเย็น
  •  

 

 

 

  • โดย พญ.สิรารัตน์  โมรรัต
  • อายุรกรรมประสาทวิทยา
  • ศูนย์สมองและระบบประสาท
  • โทร. 0-2586 - 7888