การดูแลระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรัง หรือเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงมากกว่าคนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาืั้ดีพอ อาจลุกลามถึงต้องเสียนิ้วหรือเสียขา สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการเอาใจใส่สำรวจเท้าทุกวัน ถ้าเกิดความผิดปกติควรได้รับการดูแลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
- สาเหตุที่ผู้เป็นเบาหวานเกิดแผลที่เท้าง่ายกว่าคนปกติ
- 1.ผู้เป็นเบาหวานมานาน ส่วนใหญ่พบมีอาการเสื่อมของประสาทส่วนปลายที่ไปเลี้ยงมือและเท้า การรับรู้ความรู้สึกน้อยลงเกิดอาการชาโดยเฉพาะนิ้วเท้า เป็นแผลโดยไม่รู้ตัวหรือกว่าจะสังเกตพบแผลก็ลุกลามไปมาก เมื่อประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขาและเท้าเสื่อม กล้ามเนื้อจะแฟบลงทำให้รูปร่างของเท้าผิดปกติ นิ้วเท้างอขึ้นเท้ารับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่รับน้ำหนักมากหรือถูกกดอยู่เป็นเวลานานจะหนาขึ้นเกิดเป็นตาปลาหรือเป็นแผล
- 2.การไหลเวียนของโลหิตที่ไปสู่ขาลดลง เนื่องจากผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้น ทำให้ขาดออกซิเจน ผิวหนังจะบางลง แผลหายช้า เกิดอาการปวดน่องเวลาเดิน ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายจะตายมีสีคล้ำดำขึ้น จนต้องตัดนิ้วหรือนิ้วแห้งดำหลุดไปได้
- 3.ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในโลหิตสูงอยู่นาน จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะเชื้อราที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า ทำให้ผิวหนังถลอกมีแผลเกิดขึ้น อาจจะมีเชื้อโรคที่รุนแรงเกิดขึ้นตามมา
- การป้องกันการเกิดแผลที่เท้า
- 1.สำรวจเท้าทุกวัน เช่น รอยบวมแดง ผื่นคัน ตุ่มน้ำใส ขุยขาวที่ซอกนิ้วเท้า ตาปลาและสีเล็บ
- 2.ทำความสะอาดเท้า ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยสบู่และน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ใ้ช้น้ำเย็นจัดหรือร้อน เช็ดเท้ารวมทั้งตามซอกนิ้วเท้าให้แห้ง อย่าถูแรง
- 3.นวดผิวหนังที่ขาและเท้าด้วยน้ำมันวาสลิน หรือโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังนุ่ม ป้องกันผิวแห้งและป้องกันอาการคันและเกาจนเกิดแผล แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกระหว่างนิ้วเท้า
- 4.อย่าใช้มีดหรือของมีคมตัดตาปลาหรือหนังด้าน
- 5.ถ้าเท้าชื้นมีเหงื่อออกต้องเช็ดให้แห้งเสมอ
- 6.ถ้ามีแผลเล็กน้อย ล้างด้วยน้ำสะอาด ห้ามใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างแรงหรือทิงเจอร์ไอโอดีน เพราะอาจทำให้แผลถลอกเป็นมากขึ้น ถ้าแผลใหญ่บวมแดงควรรีบปรึกษาแพทย์
- 7.การตัดเล็บ ระวังการตัดเล็บเท้า ต้องตัดเล็บในที่สว่างเห็นได้ชัดเจนและควรตัดเล็บภายหลังอาบน้ำ เพราะเล็บจะนุ่มตัดง่ายขึ้น ควรตัดตามแนวของเล็บเท่านั้น ห้ามตัดเล็บลึกถึงจมูกเล็บ
- 8.ใส่ถุงเท้าที่สะอาด และไม่ใช้ถุงเท้าที่รัดเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่สะดวก
- 9.รองเท้า รองเท้าต้องนุ่มสบาย ใส่สบาย ระวังถ้าใส่รองเท้าคู่ใหม่ไม่ควรเดินเกินครั้งละ 1/2-1 ชั่วโมง ควรมีรองเท้า 2-3 คู่ ที่เหมาะสมไว้สับเปลี่ยน
- 10.ปกป้องเท้า ไม่เดินเท้าเปล่า และควรสวมรองเท้านุ่มๆ พื้นรองเท้าผลิตจากวัสดุกันลื่นขณะอยู่ในบ้าน
- 11.อย่าวางกระเป๋าน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นที่เท้า ถ้าเท้าเย็นเวลานอนควรสวมถุงเท้า แต่ควรเป็นถุงเท้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
- 12.อย่านั่งไขว้ขา เพราะจะกดเส้นเลือดทำให้โลหิตไปเลี้ยงเท้าไม่สะดวก
- 13.บริหารเท้า เพื่อให้มีการไหลเวียนของโลหิตไปสู่เ้ท้าดีขึ้น
- 14.ควบคุมเบาหวานให้ดี รักษาระดับน้ำตาลอยู่ให้ระหว่าง 80-130 มก./ดล.
- 15.มีปัญหาปรึกษาแพทย์
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลนนทเวช
- โทร. 0-2596-7888
- 1.สำรวจเท้าทุกวัน เช่น รอยบวมแดง ผื่นคัน ตุ่มน้ำใส ขุยขาวที่ซอกนิ้วเท้า ตาปลาและสีเล็บ
- 2.การไหลเวียนของโลหิตที่ไปสู่ขาลดลง เนื่องจากผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้น ทำให้ขาดออกซิเจน ผิวหนังจะบางลง แผลหายช้า เกิดอาการปวดน่องเวลาเดิน ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายจะตายมีสีคล้ำดำขึ้น จนต้องตัดนิ้วหรือนิ้วแห้งดำหลุดไปได้
- 1.ผู้เป็นเบาหวานมานาน ส่วนใหญ่พบมีอาการเสื่อมของประสาทส่วนปลายที่ไปเลี้ยงมือและเท้า การรับรู้ความรู้สึกน้อยลงเกิดอาการชาโดยเฉพาะนิ้วเท้า เป็นแผลโดยไม่รู้ตัวหรือกว่าจะสังเกตพบแผลก็ลุกลามไปมาก เมื่อประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขาและเท้าเสื่อม กล้ามเนื้อจะแฟบลงทำให้รูปร่างของเท้าผิดปกติ นิ้วเท้างอขึ้นเท้ารับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่รับน้ำหนักมากหรือถูกกดอยู่เป็นเวลานานจะหนาขึ้นเกิดเป็นตาปลาหรือเป็นแผล
-
-
-
-
- Q : แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุอะไรและจะตรวจพบได้อย่างไรในระยะเริ่มต้น
- A : แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดขึ้นจากรูปเท้าที่ผิดปกติเป็นเบื่องต้น ร่วมกับโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบหรือตัน ซึ่งพบมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า อีกทั้งอาจมีอาการชาของปลายเท้า เนื่่องจากเส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน ดังนั้นเมื่อเกิดแผลที่เท้าก็จะหายยากมากและอาจลุกลามมากขึ้น และถ้าโดนซ้ำเติมด้วยโรคติดเชื้อก็อาจจะเป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียเท้า สูญเสียขา หรือ สูญเสียชีวิตได้
- การตรวจพบแผลเท้าเบาหวานในระยะเริ่มต้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะอันตรายดังกล่าว จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจคลำชีพจรที่ขา และตรวจคัดกรองภาวะหลอดเลือดแดงตีบ ด้วยวิธี Ankle-Brachial Index (ABI) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบหรือตัน โดยผู้เป็นเบาหวานควรได้รับการตรวจ ABI ปีละ 1 ครั้ง
- แผลเท้าเบาหวานที่เกินจากโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบหรือตันสามารถรักษาได้ด้วยวิธีทั้งไม่ผ่าตัด และผ่าตัดโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนหรือใส่ Stent (Endovascular Surgery)
- ติดต่อนัดหมายแพทย์ได้ที่ คลินิกศัลยกรรมและหลอดเลือด
- (VASCULAR SURGERY CLINIC)
- โทร. 0-2596-7888 ต่อ 2139, 2145
-