ทราบหรือไม่ ? ในช่วงฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่
- • ผู้ป่วยเบาหวาน มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น 5-15 %
- • ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 6 เท่า
ทำไมไข้หวัดใหญ่ ? อันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน ?
- • เชื้อไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายได้ง่าย เมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ เพียงแค่เราไปอยู่ใกล้คนที่เป็นไข้หวัดใหญ่ แล้วได้รับละอองฝอยผ่านการไอหรือจาม ก็จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้สูง
- • ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย สภาพร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสที่จะอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จึงทำให้มีโอกาสรับเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น
- • เมื่อป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่แล้วโอกาสหายยากกว่า คนที่ไม่มีโรคประจำตัว เมื่อได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ร่างกายจะค่อยๆ ฟื้นตัวดีขึ้นภายใน 5-7 วัน แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน อาจใช้เวลามากกว่านั้น และมีโอกาสที่อาการของโรคจะรุนแรงมากกว่าด้วย
- • โรคปอดบวมโรคแทรกซ้อนที่น่ากลัว โรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ที่ต้องระวังอย่างมาก คือ โรคปอดบวม ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงจะเกิดการพัฒนาของโรค ไปสู่โรคปอดบวมได้ง่ายกว่าคนปกติ
ทำไมผู้ป่วยเบาหวาน ? เป็นไข้หวัดใหญ่ถึงเสี่ยงเสียชีวิตได้
เหตุผลที่ทำให้ ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเป็นไข้หวัดมีโอกาสเสียชีวิตสูง นั่นก็เพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก็จะเริ่มเข้าไปรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาส
ติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และเมื่อเชื้อเริ่มลุกลาม ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง เช่น ปอดบวม หูอักเสบ ก็ยิ่งมีมากขึ้นจึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ประโยชน์ ? ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- • ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวาน
- • ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน
- • ลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
- • ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
- • ลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน
หมายเหตุ
องค์การอนามัยโลกและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี (ฉีดก่อนเข้าสู่ฤดูฝน) เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่
ทั้งนี้ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) อยู่เรื่อยๆในระยะเวลาเพียงปีเดียวก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปมากจนระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ต้องเรียนรู้ไวรัสชนิดนี้ใหม่อยู่ตลอด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เหตุใดจึงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ใหม่ในทุกๆ ปี
วิธีการแก้ไข
-
1. ดื่มน้ำมาก ๆ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
-
2. ควบคุมอาหาร
-
3. พักผ่อน งดกิจกรรม
-
4. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (ถ้าทำได้)
-
5. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์