ส่องกล้องทางเดินอาหาร อันตรายไหม ?

ส่องกล้องทางเดินอาหาร อันตรายไหม ?

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง  (ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)

“การตรวจหาความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหารและตับในระยะเริ่มแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับได้”
โรคระบบทางเดินอาหารและตับมีอะไรบ้าง ?
โรคเกี่ยวกับหลอดอาหาร
  • อาการกลืนลำบาก
  • อาการจุกคอ
  • โรคกรดไหลย้อน
โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคเกี่ยวกับลำไส้
  • อาการขับถ่ายผิดปกติ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคบิด
  • โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
  • โรคลำไส้แปรปรวน
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคเกี่ยวกับทางเดินน้ำดี
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคถุงน้ำดีอักเสบ
  • โรคท่อน้ำดีอักเสบ
  • โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน
โรคเกี่ยวกับตับ
  • โรคตับอักเสบจาก
    • ไวรัสตับอักเสบ A, B, C
    • แอลกอฮอล์
    • สารพิษและยาบางชนิด
    • ภูมิคุ้มกัน
    • ​ไขมันสูง
  • โรคตับแข็ง
  • โรคมะเร็งตับ
 
 จะทราบได้อย่างไรว่า...ระบบทางเดินอาหารและตับทำงานผิดปกติ ?

ปัจจุบันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารและตับเพิ่มมากขึ้นทั้งทางกายภาพ เช่น อาหาร อากาศ วิถีการดำเนินชีวิต และการถ่ายถอดทางพันธุกรรมที่กำลังเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและตับ มีการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

“การตรวจหาความผิดปกติที่ระบบทางเดินอาหารและตับในระยะเริ่มแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับได้”

หากคุณมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป คุณอาจมีความเสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
  •  ปวดจุกแน่นท้องใต้ลิ้นปี่ใต้ชายโครงด้านซ้ายเหนือสะดือ เป็นๆ หายๆ
  •  ปวดท้องเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด
  •  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
  •  ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  •  กลืนอาหารลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
  •  อาเจียนบ่อย หรืออาเจียนติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุ
  •  อาเจียนเป็นเลือด
  •  ซีด มีภาวะโลหิตจาง
  •  ถ่ายอุจจาระมีมูก หรือมีสีดำ
  •  ท้องผูก สลับท้องเสีย
ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer)  ส่วนหนึ่งป้องกันได้หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และตรวจคัดกรองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ (ที่มา : WHO guideline 2018)
ใครบ้างที่ควร เข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ?
  •  บุคคลทั่วไปที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป
  •  คนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเริ่มตั้งแต่อายุ 35-40 ปีขึ้นไป
  •  คนที่มีอาการทางลำไส้ที่ผิดปกติ ไม่จำกัดอายุ
  •  ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ
  •  ขับถ่ายผิดปกติ หรือมีเลือดปนในอุจจาระ
  •  น้ำหนักตัวลดลงไม่ทราบสาเหตุ
  •  มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)  อันตรายไหม ?

   เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและตับ มีการทำงานที่ซับซ้อน จึงต้องการการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal&Liver Center) พร้อมด้วยทีมอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ และแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเคมีบำบัด พร้อมให้บริการตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและตับทั้งระบบ  ทั้งนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่  (Colonoscopy) สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ฯลฯ โดยไม่มีความน่ากลัวและอันตรายแต่อย่างใด

       สามารถทำได้ภายในหนึ่งวันเพียงแค่ งดน้ำ และอาหารมา 6-8 ชม.
       ระยะเวลาทำ 20-30 นาที
       ทำในขณะหลับ โดยได้รับยานอนหลับแบบฉีด ไม่เจ็บ
       สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำเสร็จ

FAQs : 

  •   ส่องกล้องทางเดินอาหารควรทำกี่ปีครั้ง ?

การส่องกล้องทางเดินอาหารเป็นการตรวจหาความผิดปกติที่ลำไส้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้ 60% ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องให้มีอาการผิดปกติ

  •   ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ใช้เวลากี่นาที ?                  

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่  (Colonoscopy) สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ฯลฯใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที

  • - สามารถทำได้ภายในหนึ่งวันเพียงแค่ งดน้ำ และอาหารมา 6-8 ชม.
  • - ระยะเวลาทำ 20-30 นาที
  • - ทำในขณะหลับ โดยได้รับยานอนหลับแบบฉีด ไม่เจ็บ
  • - สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำเสร็จ

อ้างอิง :
แนะนำบริการศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ
https://www.nonthavej.co.th/gastrointestinal-system-and-liver-clinic-section1.php
โปรแกรมตรวจค้นหาความเสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหาร
https://www.nonthavej.co.th/digestive-system.php
บทความ เรื่อง มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้
https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer-H.php

นพ. อานนท์ พีระกูล
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ