ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ เจ็บไหม ?

ส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่ เจ็บไหม ?

ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่ตรวจพบก่อนที่เซลล์ผิดปกติจะเปลี่ยนแปลงจนกลายป็นมะเร็งและเมื่อตรวจพบความผิดปกติเหล่านั้นสามารถให้การรักษาตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติทำให้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และการมาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น

ทั้งนี้การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีแค่วิธีการส่องกล้องเพียงอย่างเดียว การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เริ่มต้นด้วยการตรวจอุจจาระด้วยวิธีพิเศษต่างๆ เมื่อตรวจพบเจอความผิดปกติจะนำไปสู่การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป เมื่อส่องกล้องแล้วเจอความผิดปกติก็จะให้การรักษาและป้องกันไปตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบขณะส่องกล้อง

“ในปัจจุบันคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แม้ไม่มีความเสี่ยงก็ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกคนเพื่อเป็นการคัดกรองและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต”
วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

 การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดออกแฝงในอุจจาระ

 การส่องกล้องลำไส้ใหญ่  (Colonoscopy) ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ

  • สามารถทำได้ภายในหนึ่งวันเพียงแค่ งดน้ำ และอาหารมา 6-8 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 20-30 นาที
  • สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำเสร็จ
  • ทำในขณะหลับ โดยได้รับยานอนหลับแบบฉีด ไม่เจ็บ

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

   ในการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ จะทำผ่านอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กส่องเข้าไปทางทวารหนัก แพทย์จะดำเนินการในขณะที่เรานอนหลับ โดยเราจะได้รับยานอนหลับแบบฉีด ผู้เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บเลย แต่อาจมีความรู้สึกอึดอัดท้องหรืออยากขับถ่ายบ้าง หากในกรณีที่ระหว่างการตรวจ พบติ่งเนื้อยื่น เนื้องอก แพทย์จะสามารถทำการตัดชิ้นเนื้อออกได้ทันที โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ หลังการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ใครบ้าง? ควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่

  •  บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  •  คนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเริ่มตั้งแต่อายุ 35-40 ปีขึ้นไป
  •  คนที่มีอาการทางลำไส้ที่ผิดปกติ ไม่จำกัดอายุ
  •  ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ
  •  ขับถ่ายผิดปกติ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย มีเลือดออกปนในอุจจาระ
  •  น้ำหนักลดลงไม่ทราบสาเหตุ
  •  มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

FAQs                                                                                       

อาการแบบไหนควรไปส่องกล้อง?                                                                                    

ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องให้มีอาการ

อาการและอาการแสดงมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังต่อไปนี้

  • - ช่วงที่เริ่มเป็น ไม่มีอาการผิดปกติ
  • - ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด, เป็นมูก หรือเป็นมูกเลือด
  • - ท้องผูกสลับท้องเสียที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือไม่เคยเป็นมาก่อน
  • - ซีด โดยที่หาสาเหตุไม่ได้
  • - ท้องผูกมากผิดปกติ หรือมีอาการถ่ายไม่สุดหลังถ่ายอุจจาระแต่ละครั้ง
  • - ปวดท้องเรื้อรังมานาน
  • - สังเกตว่าลำอุจจาระมีขนาดลีบเล็กลง
  • - ผอมลง หรือน้ำหนักตัวลดลง แบบไม่ทราบสาเหตุชัดเจน

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ใช้เวลานานไหม ? / ต้องวางยาสลบไหม ?

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่  (Colonoscopy) สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ  20-30 นาที

  • - สามารถทำได้ภายในหนึ่งวันเพียงแค่ งดน้ำ และอาหารมา 6-8 ชม.
  • - ระยะเวลาทำ 20-30 นาที
  • - ทำในขณะหลับ โดยได้รับยานอนหลับแบบฉีด ไม่เจ็บ
  • - สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำเสร็จ

บทความ เรื่อง มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้
https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer-H.php

นพ. อานนท์ พีระกูล
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์มะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ

บทความ เรื่อง รู้ทันมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer.php 

นพ.นิธิคุณ บุญอิ้ง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมลำไส้และทวารหนัก 
ศูนย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง (Advance Laparoscope Surgery Center)