ต่อมลูกหมาก คือ อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะบริเวณโคนอวัยวะเพศ หรือบริเวณอุ้งเชิงกราน มีหน้าที่สำคัญ คือ การสร้างน้ำอสุจิ
โรคต่อมลูกหมากโต คือ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย โดยมีอาการเริ่มต้น คือ ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มากกว่า 2 ครั้ง/คืน โดยแต่ละครั้ง มีปริมาณไม่มาก ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะบ่อย
หากมีอาการต่อมลูกหมากโตมากขึ้น จะส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะไม่ค่อยออก จนต้องออกแรงเบ่งมากขึ้น และถ้าอาการรุนแรงอาจมีเลือดปนออกมาด้วย อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้เลยทีเดียว
โรคต่อมลูกหมากโต เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ส่วนใหญ่แล้วปัญหาสุขภาพชาย พบมากเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โรค 3 อันดับแรกที่พบบ่อยในผู้ชายวัย 40 คือ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด, กลุ่มโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคระบบทางสุขภาพเพศชาย, ระบบทางเดินปัสสาวะและปัญหาทางสมรรถภาพ
- โรคต่อมลูกหมากโต คือ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย โดยมีอาการเริ่มต้น คือ ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มากกว่า 2 ครั้ง/คืน โดยแต่ละครั้ง มีปริมาณไม่มาก ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะบ่อย
หากมีอาการต่อมลูกหมากโตมากขึ้น จะส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะไม่ค่อยออก จนต้องออกแรงเบ่งมากขึ้น และถ้าอาการรุนแรงอาจมีเลือดปนออกมาด้วย อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้เลยทีเดียว
ความผิดปกติของต่อมลูกหมากที่มีขนาดโตขึ้นในช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลง (ฮอร์โมนเพศชายจะพีคสุด เมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป) ทำให้ท่อปัสสาวะส่วนต้นตีบแคบ ส่งผลให้การถ่ายปัสสาวะเกิดความผิดปกติ
ท่อทางเดินปัสสาวะตีบแคบ ทำให้ในกระเพาะปัสสาวะทำงานหนักขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรง เพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ ส่งผลให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น ทำให้พื้นที่ที่ใช้ในการกักเก็บน้ำปัสสาวะน้อยลง ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก ติดขัด ฉี่ไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ควบคุมการไหลของปัสสาวะไม่ได้ หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)
ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต
- ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อาหารการกิน เช่น อาหารไขมันสูง ซึ่งพบว่าเชื้อชาติยุโรป จะมีอัตราการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าคนเอเชีย
- ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม และเชื้อชาติ ส่วนปัจจัยเสี่ยงของความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น ฮอร์โมนลดลง และโรคที่เป็นอยู่เดิม เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ
สังเกตอาการของโรคต่อมลูกหมากโต ด้วยตัวคุณเอง
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติและมีปริมาณไม่มาก
- ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย
- ปัสสาวะออกช้า
- ปัสสาวะไม่ออก
- ปัสสาวะไหลอ่อน หรือปัสสาวะขาดหรือสะดุดเป็นช่วง ๆ
- ปัสสาวะเล็ดหลังปัสสาวะเสร็จ
- ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะออกยากต้องเบ่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ภาวะแทรกซ้อนจากต่อมลูกหมากโต
- ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้
การตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาต่อมลูกหมากโต
- การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ (Physical Examination by Urologist) โดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam-DRE)
- การตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือด หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urine Analysis)
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
- รักษาโดยการรับประทานยา
- ตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศ เป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง (Transurethral Resection of the Prostate – TURP)
- การใส่ตัวถ่างขยายท่อปัสสาวะบริเวณต่อมลูกหมาก (Prostatic stent) ใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้
การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้เลเซอร์ (Greenlight Laser PVP)
แนวทางรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต
- สำหรับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต รักษาโดยการทานยา หากมีอาการผิดปกติอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- กรณีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จะต้องดูตามระยะของโรค หากอยู่ในระดับ 1-3 รักษาโดยการผ่าตัด
นอกจากการหลีกเลี่ยงอาหาร ที่ส่งผลทำให้ต่อมลูกหมากโตแล้ว ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองเวลาปัสสาวะ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่หากพบว่าตัวเองมีอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะเบา อ่อนแรง ปัสสาวะไม่ค่อยออก ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยๆ หรือมีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที
นัดหมายจองคิวปรึกษาแพทย์ พร้อมติดต่อสอบถามข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม โทร.0-2596-7888
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ได้ที่
เคล็ดลับสุขภาพ : ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
บริการศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
อ้างอิง :
บทความ เรื่อง ล้วงลึกแต่ไม่ลับ กับปัญหาสุขภาพชาย
https://www.nonthavej.co.th/Urinary-system-disease.php
บทความ เรื่อง เช็คอาการส่อเค้า โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
https://www.nonthavej.co.th/urology.php
นพ.ทวีพงษ์ เหลืองอ่อน
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
โรงพยาบาลนนทเวช