- ท่านอนหงาย
-
- หนุนศีรษะด้วยหมอน จัดให้ศีรษะ หมุนไปด้านที่อ่อนแรง
- หมอนหนุนรองที่ไหล่และแขนข้างที่อ่อนแรง ศอกเหยียด หงายหรือคว่ำมือข้อมือตรง นิ้วมือเหยียดและกางออก
- ข้อสะโพกใช้หมอนหรือผ้าม้วนวางด้านข้างเพื่อกันขาหมุนออก เข่าเหยียดตรงหรืองอเล็กน้อย ใช้หมอนรองใต้เข่าใต้เท้าใช้แผ่นไม้กั้นหรือหมอนดันไม่ให้ปลายเท้าตก
โรคหลอดเลือดสมอง Stroke
ตีบ หลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงสมองไหลเวียนลดลง
แตก มีเลือดออกรอบๆเนื้อสมอง
อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง
- สับสน พูดลำบาก พูดไม่เข้าใจ |
- ปวดศีรษะ / เวียนศีรษะ / อาเจียนพุ่งทันทีทันใด
|
- ปากเบี้ยว กลืนลำบาก |
- เดินเซ ทรงตัวลำบาก
- แขน/ขา ใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก
- ตามัว มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นครึ่งซีก
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
- - อายุ
- - เพศ
- - ภาวะแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
- - ความดันโลหิตสูง
- - ไขมันในเลือดสูง
- - เบาหวาน
- - โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- - การสูบบุหรี่/ดื่มสุรา
- - ออกกำลังกายน้อย
- - การใช้ยาคุมกำเนิด
การตรวจเช็คอาการ Stroke ด้วยการทดสอบ F.A.S.T
F : Facialปากเบี้ยว |
A : Arm Weaknessแขนขาอ่อนแรง |
S : Speech difficultiesพูดไม่ชัด |
T : Time is brainพบแพทย์ทันที |
หากพบอาการข้อใดข้อหนึ่งให้รีบพบแพทย์ทันที
เพื่อค้นหาสาเหตุและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
การปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่
- - ให้นอนราบเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บที่ศีรษะ
- - ในผู้ป่วยที่หมดสติให้ตะแคงหรือหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก
- - รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีไม่ว่าจะมีอาการหนักหรือเบา
หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการรักษารวดเร็วเท่าใด จะยิ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อสมองแบบยาวนานได้ ลดการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การตรวจวินิจฉัย....โรคหลอดเลือดสมอง
- 1. ตรวจเลือด เพื่อดูความเข้มข้นของเลือด , การแข็งตัวของเลือด , ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด , ระดับไขมันในเลือด
- 2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ
- 3. ตรวจเอกซเรซ์สมองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อตรวจดูภาวะขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองและภาวะเลือดออกในสมอง
- 4. ตรวจเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI Scan) / (MRA Brain and Carotid) เพื่อดูเนื้อสมองและหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีความละเอียดสูงและมีความแม่นยำ
- 5. ตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (Carotid Duplex Ultrasound) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
การรักษา...โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการรักษาทันที หากล่าช้าเนื้อสมองจะถูกทำลายมากขึ้นส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ จึงควรได้รับการรักษาโดยตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท
ระยะอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง (Transient Ischemic Attack) ผู้ป่วยจะมีอาการชาหรืออ่อนแรงเกิดขึ้นชั่วคราว สามารถหายได้เองเป็นปกติ แต่อย่างไรก็ตามต้องรีบไปพบแพทย์และได้รับการรักษา การป้องกันที่ถูกต้อง โดยการรับประทานยาเพื่อป้องกันหลอดเลือดสมองตีบ
ระยะเฉียบพลันของโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Acute Ischemic Stroke) เมื่อผู้ป่วยมีอาการต้องรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาภายในเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง โดยแพทย์ผู้เชี่ยว-ชาญด้านระบบประสาทเป็นผู้พิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) อย่างไรก็ตามถ้าอาการที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วง 4.5 ชม. ถึง 7 วัน ก็ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
ระยะเฉียบพลันของโรคหลอดเลือดสมองแตก (Acute Hemorrhagic Stroke) การรักษาประกอบด้วย การผ่าตัดในรายที่มีข้อบ่งชี้ การให้ยาลดภาวะสมองบวม การควบคุมความดันโลหิตและการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
ยาที่ใช้รักษาและป้องกัน..โรคหลอดเลือดสมอง
กลุ่มยาต้านเกล็ดเลือด ( Antiplatelet Agents )
ใช้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด
- - Aspirin
- - Clopidogrel
- - Cilostazol
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด
- - รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดหรือปรับเปลี่ยนขนาดยาเอง
- - ในกรณีลืมรับประทานยาให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง และรับประทานในวันต่อไปตามขนาดปกติ
- - ไม่ควรใช้ยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs สมุนไพรหรืออาหารเสริมทุกชนิด
กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด (Anticoagulant Agent)
ใช้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- - Warfarin
- - Dabigatran
- - Apixaban
- - Rivaroxaban
- - Edoxaban
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด
อาการผิดปกติ..จากยาที่ใช้รักษาและป้องกัน..โรคหลอดเลือดสมอง
ยากลุ่มลดความเสี่ยงของการเกิดซ้ำ โรคหลอดเลือดสมอง
กลุ่มยาลดความดันโลหิต
กลุ่มยาลดไขมัน
การดูแลและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย..โรคหลอดเลือดสมอง
ผลกระทบทางจิตใจที่เกิดจากความบกพร่องทางระบบประสาท ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเช่นเคย จึงเกิดความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจ รู้สึกด้อยค่าในตัวเองจึงอาจแสดงอารมณ์หรือพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆ ผู้ที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ดีอยู่เดิมอาจไม่มีปัญหาด้านอารมณ์
ดังนั้น ผู้ดูแลควรเข้าใจ พูดคุยและให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ
ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย..โรคหลอดเลือดสมอง
การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
เกิดจากผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก ทำให้มีการ สำลักน้ำลายและเชื้อโรคเข้าไปในปอด ทำให้เกิด ปอดอักเสบ
อาการ มีไข้ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว เสมหะสีเหลือง/เขียว
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
เกิดจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ความเครียด
อาการ อาเจียนเป็นเลือดเก่า ถ่ายดำ ปวดท้อง ในผู้ป่วยใส่สายอาหารพบว่ามีสีน้ำตาล/แดง/ดำ ค้างอยู่ในสายอาหาร
ภาวะข้อติดแข็ง/หัวไหล่หลุด
พบในผู้ป่วยที่มีอาการแขนอ่อนแรง เกิดจากการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณหัวไหล่ การที่แขนไม่มีการเคลื่อนไหวและน้ำหนักแขนมาก ทำให้แขนตกเกิดภาวะไหล่ทรุด
อาการ ข้อยึดมีการหดรั้งของเอ็นกล้ามเนื้อ มีอาการงอแขนขาข้างที่อ่อนแรงตลอดเวลา
ภาวะท้องผูก
พบในผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อย มีข้อจำกัดใน การทำกิจกรรม หรือได้รับสารน้ำไม่เพียงพอ
อาการ ไม่ถ่ายอุจจาระ ปวดถ่ายอุจจาระแต่ ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได
ภาวะหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน
เกิดขึ้นจากการจับตัวกันเป็นลิ่มเลือดและ ลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่หลอดเลือดดำส่วนลึก บริเวณขา
อาการ มีไข้ ขาบวมแดงร้อน สีผิวเปลี่ยนเป็น สีคล้ำ กดปวดบริเวณน่องเมื่อกระดกข้อเท้าจะ ปวดมากขึ้น
เกิดการพลัดตก หกล้ม
เนื่องจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอาการ เดินเซ แขนขาอ่อนแรง ทรงตัวได้ไม่ได้ดี เคลื่อนไหวช้า อาจทำให้เกิดพลัดตกหกล้มได้ง่าย
ภาวะกลืนลำบาก
อาการ รับประทานอาหารได้ลดลง กลืนน้ำลายแล้วสำลัก ไอขณะรับประทานอาหารเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ทางด้านระบบทางเดินหายใจ
การดูแลผู้ป่วย.โรคหลอดเลือดสมองที่ให้อาหารทางสายยาง
หลักการ
- • ใช้หลักสะอาด
- • เปลี่ยนสายเมื่อสกปรกหรือตามคำแนะนำของแพทย์
- • ต้องทดสอบตำแหน่งของสายทุกครั้งก่อนให้อาหาร
1.เตรียมของเครื่องใช้ในการให้อาหารทางสายยางอาหารเหลวที่เตรียมให้ผู้ป่วย รวมทั้งยาของผู้ป่วยที่มีให้หลังอาหารให้พร้อม
2.จัดท่านอนให้ผู้ป่วยอยู่ท่าศีรษะสูงท่ารับประทานอาหารปกติ ในรายที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวควรให้หนุนหมอน ตั้งแต่หลังจนถึงศีรษะโดยใช้หมอน 2 ใบใหญ่หรือจัดให้ผู้ป่วยนั่งพิงพนักเตียงหรือให้นั่งเก้าอี้
3.ผู้ที่จะให้อาหารต้องล้างมือให้สะอาดตามวิธีการล้างมือที่ถูกวิธี
4.ในผู้ป่วยที่เจาะคอมีท่อหายใจ ให้ดูดเสมหะในหลอดลมคอก่อนเพื่อป้องกันผู้ป่วยไอจากการมีเสมหะมากขณะให้อาหารทางสายยาง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร
5.ล้างมืออย่างถูกวิธีภายหลังดูดเสมหะให้ผู้ป่วย
6.ดึงจุกที่ปิดหัวต่อปลายสายให้อาหารออก ขณะเดียวกันใช้นิ้ว พับสายคีบเอาไว้เพื่อป้องกันลมเข้ากระเพาะอาหารผู้ป่วย เพราะจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
7.ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดบริเวณจุกให้อาหารทางสายยาง
8. เอากระบอกให้อาหาร พร้อมลูกสูบต่อกับหัวต่อและปล่อยนิ้วที่คีบสายออก ทำการทดสอบดูว่า ปลายสายยางให้อาหาร ยังอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่โดย
- 8.1 ใช้กระบอกให้อาหารดูดอาหารหรือน้ำออกจากกระเพาะ ถ้ามีมากเกิน 50 ซีซี ให้ดันอาหารหรือน้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆ และเลื่อนเวลาออกไปครั้งละ 1 ชั่วโมง แล้วมาทดสอบดูใหม่ ถ้ามีไม่เกิน 50 ซีซี ให้ดันอาหารน้ำกลับคืนไปอย่างช้าๆและให้อาหารได้
- 8.2 ถ้าดูดออกมาแล้ว ไม่มีอาหารตามขึ้นมาเลย ให้ดูดลมเข้ามาในกระบอกอาหารประมาณ 20 ซีซี แล้วต่อเข้ากับสายให้อาหาร พร้อมกับเอาฝ่ามืออีกด้านหนึ่ง หรือหูแนบเข้ากับใต้ชายโครงด้านซ้าย ดันลมในกระบอกให้เข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างช้า ถ้าสายอยู่ในกระเพาะอาหาร จะรู้สึกหรือได้ยินเสียงลมเข้าไปในกระเพาะอาหาร จากนั้นให้ดูดลมออกด้วย อาจจะประมาณ 20 ซีซี
- 8.3 ถ้าดูดออกมาแล้วได้ของเหลวสีน้ำตาลเข้ม ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะผู้ป่วยอาจมีปัญหาแผลในกระเพาะอาหารได้
9. พับสายยาง ปลดกระบอกให้อาหารออก เอาลูกสูบออกจากกระบอกแล้วต่อกระบอก เข้ากับสายให้อาหารใหม่
10. เทอาหารใส่กระบอกครั้งละประมาณ 50 ซีซี ยกกระบอกให้สูงกว่าผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้อาหารไหลตามสายช้าๆ อย่าให้อาหารไหลเร็ว ถ้าเร็วมากต้องลดกระบอก ให้ต่ำลง เพราะการให้อาหารเร็วมากเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือ ท้องเดิน
11. เติมอาหารใส่กระบอกเพิ่มอย่าให้อาหารในกระบอกลดระดับลงจนมีอากาศในสาย เพราะอากาศจะทำให้ผู้ป่วยท้องอืดได้
12. เมื่ออาหารกระบอกสุดท้ายเกือบหมดให้เติมน้ำและยาหลังอาหารที่เตรียมไว้ เติมน้ำ ตามอีกครั้ง จนยาไม่ติดอยู่ในสายยาง และไม่ควรมีน้ำเหลือค้างอยู่ในสาย
13. พับสาย ปลดกระบอกให้อาหารออก เช็ดหัวต่อ ด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกปิดจุกหัวต่อให้เรียบร้อย
14. ให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงหรือนั่งพัก หลังให้อาหารต่อไปประมาณ 1 ชั่วโมง
การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
1. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3 วันหรือเมื่อหลุด
2. ทำความสะอาดรูจมูกและรอบจมูกด้วยไม้พันสำลีหรือผ้าชุบน้ำ
3. ระวังสายยางเลื่อนหลุด ควรทำเครื่องหมายเป็นจุดสังเกต
4. ถ้าสายยางเลื่อนหลุดไม่ควรใส่เอง เพราะอาจใส่ผิดไปเข้าหลอดลม ให้มาพบแพทย์
5. ควรนำมาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนสายให้อาหารเมื่อสกปรกหรือ ตามคำแนะนำของแพทย์
อาการผิดปกติที่ต้องปรึกษาแพทย์
1. มีไข้สูง
2. น้ำหนักลด
3. เกิดอาการสำลักบ่อยๆ
4. ท้องเดินและท้องอืดบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาหารและโภชนาการสำหรับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักมีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันใน- เลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้
จำกัดปริมาณโซเดียม |
จำกัดปริมาณไขมัน |
• เลี่ยงอาหารรสจัด หมักดอง อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป |
• รับประทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการ หุงต้มแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ |
เพิ่มปริมาณเส้นใยอาหาร |
จำกัดปริมาณน้ำตาลในอาหาร |
• รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานจัด เป็นประจำทุกมื้อและให้หลากหลาย (ผัก ผลไม้ 3.5-5 ถ้วยตวง/วัน) |
• รับประทานอาหารให้หลากหลาย และรับประทานให้เป็นเวลา |
สำหรับผู้ได้รับยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรือยาละลายลิ่มเลือด
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคต่ำและปานกลาง
ปริมาณวิตามินเค |
รายการอาหาร |
ควรงด วิตามินเคสูงมาก (90-150 mcg) |
หัวผักกาด ผักโขม บร็อคโคลี่ ผักขึ้นฉ่าย น้ำมันถั่วเหลือง ต้นหอม ผักชีฝรั่ง แขนงกะหล่ำผักกาดเขียว กะหล่ำปลี กุยช่าย หอมแดง ผักกาดหอม ผักชี หน่อไม้ฝรั่ง |
ควรหลีกเลี่ยง วิตามินเคสูง (60-90 mcg) |
กระเจี๊ยบ ใบแมงลัก ถั่วดำ โหระพา ผักกาดหอม กระเพรา ลูกพลัมแห้ง กะหล่ำดอก |
ทานได้บ้าง วิตามินเคปานกลาง (30-60 mcg) |
ผักกวางตุ้ง กีวี่ ถั่วเหลือง พืชประเภทฟัก ทูน่าในน้ำมัน บลูเบอร์รี่ ถั่วพุ่ม น้ำมันมะกอก ฟักทอง น้ำแครอท ถั่วเขียว ถั่วลันเตา |
ทานได้มาก วิตามินเคต่ำ (5-30 mcg) วิตามินเคสูง (60-90 mcg) |
หอมหัวใหญ่ แครอท ข้าวโอ๊ต แอ๊ปเปิ้ล พริกชี้ฟ้าแดง ลูกเกด น้ำเต้า คะน้า พริกชี้ฟ้าเขียว เมล็ดฟักทอง เห็ดตำลึง พริกหวาน มะเขือเทศ ข้าวโพด กระถิน ถั่วแขก ถั่วแระ แอ๊ปเปิ้ลแดง กล้วย ชะพลู มะม่วงดิบ อะโวคาโด อบเชย ชะอม สตอเบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน มะละกอ มะระขี้นก ลูกพีชอบแห้ง เกาลัด แตงโม ผักบุ้ง ราสเบอร์รี่ แตงกวา ถั่วแมคคาเดเมีย สะตอ |
กายภาพบำบัดใน..ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ออกกำลังกายกล้ามเนื้อริมฝีปากและลิ้น
เม้นปากให้แน่น แล้วคลายออก |
อ้าปากกว้าง สลับหุบปาก |
ขยับลิ้นดัน กระพุ้งแก้มขวา |
แลบลิ้นแตะริมฝีปาก บน-ล่าง-ซ้าย-ขวา |
ยิ้มสลับทำปากจู๋ ออกเสียงอา อี อู เอ โอ |
พูดคำว่า “ลา ลา ลา” เร็วที่สุด |
การบริหารมือและนิ้ว
Exercise hand and finger
กำมือแน่น สลับแบมือ |
เหยียดนิ้วให้ตรง |
กำลูกบอลให้แน่น แล้วคลาย |
กำลูกบอลให้แน่น แล้วคลาย |
ยกนิ้วทีละนิ้ว |
ใช้นิ้วแตะนิ้วโป้ง ทีละนิ้ว |
งอนิ้วโป้งแตะโคนนิ้วก้อย |
ยกนิ้วทีละนิ้ว |
การจัดท่าผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก Hemiplegic Position
|
- จัดแขนและไหล่ข้างอ่อนแรงให้งุ้มมาทางด้านหน้าเล็กน้อย แขนหมุนออกศอกเหยียด หงายมือขึ้นและเหยียดนิ้วมือ แขนข้างปกติวางบนลำตัวหรือใช้หมอนรอง - ขาข้างอ่อนแรงเหยียดข้อสะโพกตรงเข่างอเล็กน้อย ใช้หมอนรองขาข้างปกติให้สะโพกและเข่าอยู่ในท่างอ |
|
ท่านอนตะแคงทับข้างปกติ- ตะแคงศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย - จัดแขนข้างอ่อนแรงให้ไหล่งุ้มไปทางด้านหน้า ใช้หมอนรองแขนและมือ แขนข้างปกติจัดให้อยู่ในท่าสบายหรือกางออกเล็กน้อย - จัดขาข้างอ่อนแรงวางบนหมอนโดยให้สะโพกและเข่าอยู่ในท่างอ |
ท่านั่งบนเตียง- นั่งเหยียดขาบนเตียงโดยมีหมอนหนุนรองที่หลังให้ตั้งตรง - แขนข้างอ่อนแรงหนุนรองด้วยหมอนหรือโต๊ะ - ขาจัดอยู่ในท่าที่สบาย |