ภาวะนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ

ศูนย์ตรวจการนอนหลับ

ทุกนาทีขณะนอนหลับ
อาจเกิดภาวะ "หยุดหายใจ"
Sleep Apnea The Hidden Danger

     ศูนย์ตรวจการนอนหลับ โรงพยาบาลนนทเวช เป็นศูนย์การตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติที่เกิดจากการนอน เช่น นอนกรน นอนไม่หลับ นอนกัดฟัน นอนขากระตุก และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ อายุรกรรมระบบประสาท อายุรกรรมระบบทางเดินหายใจ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก

     “การนอนหลับ” เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดที่จะทำให้ร่างกายได้พักส่งผลให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย จิตใจ เป็นไปอย่างปกติ และมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวการนอนไม่เพียงพอ หรือนอนไม่มีคุณภาพย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ การดำเนินชีวิต และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนมีหลายปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหานอนไม่หลับปัญหาการนอนหลับไม่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะง่วงนอนกลางวัน ภาวะนอนกรนหยุดหายใจ เป็นปัญหาหนึ่งซึ่งพบได้บ่อยปัญหาดังกล่าว นอกจากทำให้รบกวนการนอนหลับของเพื่อนร่วมห้องแล้วยังทำให้ผู้ป่วยมีภาวะหายใจแผ่ว หยุดหายใจ ทำให้สะดุ้งตื่นบ่อย และสมองขาดออกซิเจน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อัมพาต ขาดสมาธิ ความจำสั้น ง่วงนอนกลางวัน หรือหลับใน อาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุขณะขับรถ และเสียชีวิตได้

 

• ตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของการนอนหลับ

(Polysomnography) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของการนอนหลับ โดยตรวจในช่วงเวลากลางคืนประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดคลื่นสมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจวัดลมหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ตรวจเสียงกรน ตรวจท่านอนและ ตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือด ประมวลผลโดย เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับและรายงานผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

Sleep test ควรตรวจเมื่อเกิดอาการ
•    ญาติสังเกตว่าหยุดหายใจขณะหลับ หรือหายใจเฮือก
    เหมือนจะสำลักน้ำลาย 
•    ผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังเป็นประจำ
•    ตื่นนอนตอนเช้าด้วยความอ่อนล้าไม่สดชื่น
•    ปวดมึนศีรษะต้องการนอนต่ออีกเป็นประจำ
•    มีอาการง่วงนอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งๆ
    ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว
•    นอนกัดฟัน หรือ นอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ
•    ความดันโลหิตสูง ซึ่งยังหาสาเหตุได้ไม่ชัดเจน
•    ตื่นนอนกลางดึกโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือปัสสาวะกลางดึก
    โดยไม่ทราบสาเหตุ
1.    ผู้ป่วยสามารถเตรียมเสื้อผ้าสำหรับใส่นอน ผ้าเช็ดตัว ชุดอาบน้ำ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประจำ เช่น หมอน ผ้าห่ม หมอนข้าง เพื่อให้การนอนคุ้นเคยกับสภาวะแวดล้อมเดิม
2.    ผู้ป่วยควรเข้ามารับการตรวจในช่วงการนอนหลับเพียงผู้เดียว ยกเว้นในกรณีผู้สูงอายุที่ต้องมีคนดูแล
3.    ผู้ป่วยที่มียาประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ตามปกติ ห้ามรับประทานยานอนหลับ ยกเว้นในรายที่แพทย์อนุญาต หรือ จัดยาให้รับประทานก่อนการตรวจ
4.    ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารเย็นมาก่อน สำหรับอาหารมื้อเช้าทางโรงพยาบาลจะจัดเตรียมไว้ให้
5.    ห้ามดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนเข้ามารับการตรวจหรือก่อนนอน ยกเว้นในรายที่ดื่มเป็นประจำและต้องให้แพทย์ที่ทำการรักษาอนุญาตเท่านั้น
6.    ห้ามรับประทานยาถ่าย หรือยาระบายก่อนเข้ารับการตรวจ
7.    ห้ามทาเล็บมือ ควรตัดเล็บมือให้สั้นและโกนหนวดเคราก่อนเข้ารับการตรวจ
8.    ผู้ที่เข้ารับการตรวจควรสระผมให้สะอาด ห้ามใส่น้ำมัน ใส่ครีมที่ศีรษะหรือทาครีมและแป้งบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน ขา เพราะจะมีผลต่อการติดอุปกรณ์การตรวจ
9.    หากท่านไม่สบาย เช่น เป็นไข้ ควรแจ้งกับทางโรงพยาบาลก่อน 
10.    ผู้ป่วยควรเดินทางมาถึงโรงพยาบาลในเวลาประมาณ 19:00 น. และติดต่อรับการตรวจได้ที่ ห้องตรวจการนอนหลับ ชั้น 16 อาคาร 16 ชั้น

การสร้างสุขอนามัยที่ดีในการนอน

1.    ควรปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน
2.    ถ้านอนกลางวันเป็นประจำไม่ควรงีบนานเกิน 30 นาที และหลังบ่าย 3 โมง
3.    ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
4.    ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ, ชา และน้ำอัดลม อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
5.    ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
6.    ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง 
7.    ห้องนอนควรเงียบสงบสบาย มีอุณหภูมิที่พอเหมาะ การระบายอากาศที่ดี ไม่มีเสียงหรือแสงรบกวนขณะหลับ
8.    ควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียง คุยเล่นโทรศัพท์ หรือดูภาพยนตร์ที่ตื่นเต้นสยองขวัญก่อนนอน
9.    ควรใช้ห้องนอนเพื่อการนอนและกิจกรรมทางเพศเท่านั้น 
10.    หากนอนไม่หลับภายใน 20 นาทีให้ลุกออกจากเตียงเพื่อหากิจกรรมต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ เมื่อรู้สึกง่วงนอนค่อยกลับมานอนใหม่อีกครั้ง

ขอบคุณข้อมูล :
พญ.กัลยา ปัญจพรผล
นพ. สิริชัย กิตติชาญธีระ