การนอนหลับในภาวะปกติถูกควบคุมด้วยกลไกสองระบบ คือ Process C (Circadian process) และ Process S (Homeostasis process) โดยที่ process c หรือ circadian process เป็นระบบนาฬิกาชีวิต (circadian clock) ที่ควบคุมการหลับหรือตื่นการหลั่งฮอร์โมน การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และระบบประสาทอัตโนมัติ โดยที่ศูนย์ควบคุม ดังกล่าวอยู่ที่บริเวณ suprachiasmatic nucleus (SCN) ปกติวงจรการนอนหลับจะมีรอบเวลาอยู่ที่ ประมาณ 24 ชั่วโมง (24.2 ชั่วโมง) โดยที่แสง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการหลัง melatonin เป็นตัวควบคุม ซึ่งแสงถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมเรื่องการนอนหลับ
ส่วน Process S หรือ sleep homeostasis นั้น อาศัยการสะสมความต้องการนอนหลับ เมื่อมีการตื่นอยู่นาน ร่างกายจะสะสมความง่วง มากขึ้น (sleep debt) ผ่านทางการสะสมของสาร adenosine และเมื่อเราได้หลับ ความต้องการ การนอนหลับนี้ก็จะลดลง
วงจรการนอนหลับแบ่งออกเป็นสองช่วงได้แก่ NREM sleep (non-rapid eye movement sleep) และวงจรที่สองเรียกว่า REM sleep (Rapid eye movement sleep) วงจร NREM เป็นวงจรการหลับเริ่มแรกซึ่งจะลึกลงไปเรื่อยๆ แบ่งออกเป็นสามระยะ (stage I, II และIII) ส่วนวงจร REM เป็นวงจรการหลับที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆมีการคลายตัวหยุดทำงานยกเว้นหัวใจ,กระบังลม, กล้ามเนื้อตา นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ร่างกายเกิดการฝัน และการกรอกตาเร็ว (Rapid eye movement)
การนอนหลับจะเริ่มจากวงจร NREM ก่อนแล้วจึงเกิดวงจร REM สลับกันไปเรื่อยๆ ในแต่ลงวงจรจะกินเวลาประมาณ 90-120 นาที โดยในแต่ละคืนจะเกิดวงจรดังกล่าวประมาณ 5 ครั้ง สำหรับช่วง REM มักเกิดในครึ่งคืนหลัง
วงจรการนอน
ผู้เรียบเรียง: นายแพทย์ สิริชัย กิตติชาญธีระ
แพทย์คลินิคโรคการนอนหลับ/ศูนย์ตรวจการนอนหลับ/ประสาทแพทย์
ศูนย์สมองและระบบประสาท
โทร.0-2596-7888