อาหารสำหรับเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

อาหารสำหรับเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

แนวทางการรับประทานอาหารสำหรับเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

สาเหตุของภาวะน้ำหนักน้อยในเด็ก
เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน
  •   1. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
  •   2. พฤติกรรมการเลี้ยงดู
  •   3. สุขภาพการเจ็บป่วยของเด็ก
 ผลกระทบต่อภาวะน้ำหนักน้อยในเด็ก

   หากเด็กน้ำหนักตัวน้อยจากการขาดสารอาหารย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ภูมิต้านทานโรคต่ำ เจ็บป่วยได้ง่าย

แนวทางการแก้ไขเพื่อลดภาวะน้ำหนักน้อยในเด็ก
  • 1.พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่ามีการเจ็บป่วย หรือมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือไม่
  • 2.ประเมินการเจริญเติบโตของเด็กโดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงโดยเทียบจากกราฟแสดงการเติบโต
  • 3.ประเมินพฤติกรรมการทานอาหาร
  • 4.เด็กควรนอนหลับ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
  • 5.ตรวจอุจจาระในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี (ตรวจพยาธิตัวกลม)
  • 6.หากเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน หรือสุขภาพทางช่องปากให้รีบทำการรักษา
  • 7.หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย ให้รีบรักษาให้หายเพราะการเจ็บป่วยอาจส่งผลทำให้ความอยากอาหารของเด็กลดลง
  • 8.ควรให้เด็กวิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูกและความอยากอาหาร

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อเด็กทานอาหารยากหรือเลือกทาน
  • 1.เริ่มให้อาหารที่ปริมาณน้อยๆ หากเด็กทานหมด ให้ถามเด็กก่อนว่าต้องการเพิ่มหรือไม่ อย่ายัดเยียดตักอาหารให้โดยเด็กไม่ได้ร้องขอ หากในมื้อนั้นๆเด็กยังไม่ยอมทานให้พยายามลองใหม่ในมื้อถัดไป
  • 2.ให้ลองทานอาหารใหม่ซ้ำๆ (10-15 ครั้ง) อาจเริ่มลองทานจากอาหารจานของพ่อแม่ก่อน
  • 3.จำกัดเวลาการทานอาหารในแต่ละมื้อไม่เกิน 30-35 นาที ให้เก็บอาหารทันทีเมื่อหมดเวลาและให้เด็กรอทานใหม่ในมื้อถัดไป
  • 4.จัดวางอาหารให้หลากหลาย และวางไว้ใกล้ๆ มือเด็ก ให้เด็กหยิบทานเอง ไม่บังคับ ไม่กดดัน  เด็กจะยอมลองอาหารใหม่ๆ ถ้าเด็กได้เลือกทานเองมากกว่า
  • 5.พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างในการลองทานอาหารใหม่ๆ ด้วยความรู้สึกอร่อย เพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้สึกสนใจและอยากที่จะลองอาหารด้วยตนเอง
  • 6.การทานอาหารพร้อมหน้ากันในครอบครัวจะช่วยส่งเสริมให้เด็กกล้าที่จะลองอาหารชนิดใหม่ๆ มากกว่า
  • 7.เว้นระยะอาหารในแต่ละมื้อให้ห่างกันประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง ควรมีอาหารหลัก 3 มื้อและมื้อว่าง 1 มื้อ หลีกเลี่ยงของว่างที่จะทำให้เด็กอิ่ม เช่น นม หรือน้ำผลไม้

วิธีเพิ่มน้ำหนักเด็กเบื้องต้น
ปรับวิธีการปรุงอาหาร

   ปรับวิธีในการปรุงประกอบอาหารจากการต้ม ตุ๋น มาเป็นเมนูผัดหรือทอดให้บ่อยขึ้น

เพิ่มส่วนผสม

   เพิ่มส่วนผสมของอาหารบางชนิด เช่น นม เนย แป้ง หรือน้ำตาล

จัดอาหารมื้อว่าง

   หากโดยปกติแล้วเด็กทานอาหารในแต่ละมื้อได้น้อย ควรที่จะเสริมอาหารว่างเป็นแซนวิชง่ายๆ หรืออาหารทานเล่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

แนวทางการเลือกรับประทานอาหารในแต่ละหมวด
ข้าว – แป้ง
  •  รับประทานให้ครบ 3 มื้อ มื้อละ 2 ทัพพี
  •  หากเด็กไม่ชอบทานข้าว ลองเปลี่ยนเป็นขนมปัง หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว
นม
  •  รับประทานนม 2 – 3 กล่อง/ วัน
  •  หลีกเลี่ยงการดื่มนมหวาน หรือนมปรุงแต่งรสชาติ เน้นให้ดื่มเป็นนมจืด
  •  ควรให้นมแม่ต่อเนื่องถึงอายุ 2 ปี
ผัก

 ทานผักให้หลากหลาย เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน

ผลไม้
  •  เน้นทานผลไม้สดเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการทานผลไม้แปรรูปต่างๆ
  •  หลีกเลี่ยงการทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด
  •  หากต้องการทานน้ำผลไม้ ให้เลือกเป็นน้ำผลไม้ที่คั้นสด
เนื้อสัตว์
  •  ควรรับประทานมื้อละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 มื้อ
  •  หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูป หากจำเป็นต้องระวังอย่าให้เด็กทานเยอะเกินไป
น้ำมัน น้ำตาล เกลือ
  •  หลีกเลี่ยงไขมันที่มาจากสัตว์ รวมไปถึงจำพวก Tran fat หรือไขมันอิ่มตัวต่างๆ
  •  เน้นปรุงประกอบอาหารด้วยน้ำมันพืช
ข้อแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ
  1. 1.ให้ทานอาหารรสธรรมชาติไม่ปรุงแต่งรสอาหารด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง ผงชูรส และผงปรุงรสไม่ควรให้อาหารรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด เนื่องจากอาหารที่มีรสหวานและมันเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน ฟันผุและไขมันในเลือดสูง อาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
  2. 2.ดื่มน้ำสะอาด ไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ชา กาแฟ และน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล เป็นต้น
  3. 3.เลือกอาหารว่างที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยอาหารหลายหมู่หรือผลไม้ตามฤดูกาล หลีกเลี่ยงขนมที่มีรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด และขนมที่เหนียวติดฟัน

เมนูอาหารว่างสำหรับเด็กน้ำหนักน้อย
1.ขนมปังหน้าหมู
2.แซนวิชแฮมชีส
3.แพนเค้กกล้วยหอม
4.ซุปฟักทองแครอท
5.กล้วยหอมทอด
6.ขนมแครกเกอร์
7.นม
8.น้ำส้มคั้น

ตัวอย่างเมนูอาหาร 7 วัน

วัน
เช้า
กลางวัน
ว่างบ่าย
เย็น
ก่อนนอน
จันทร์

- ข้าวต้มหมูสับใส่ฟักทอง
- นมพร่องมันเนย

- ผัดมักกะโรนีไก่สับ
- แกงจืดฟักเขียว
- น้ำสับปะรด
- ผลไม้รวมมิตร

- ข้าวสวย
- ผัดผักกาดขาวแครอท
- ปลาทอดน้ำปลา

- นมพร่องมันเนย
อังคาร

- ข้าวสวย
- แกงจืดลูกเงาะไก่สับนย
- ไข่เจียว
- น้ำส้มคั้น

- ข้าวผัดสามสี
- ซุปไก่
- กล้วยน้ำว้า

- นมพร่องมันเนย
- มะละกอ
- ข้าวสวย
- ไข่ตุ๋นปูอัด
- ผักบล็อคโคลีแครอท
- นมพร่องมันเนย
พุธ

- ข้าวสวย
- แกงจืดตำลึงเต้าหู้ไข่
- หมูปั้นก้อนทอด

- ก๋วยเตี๋ยวน้ำ
- น้ำแอปเปิ้ล
- นมพร่องมันเนย
- แครกเกอร์อปเปิ้ล
- บะหมี่ราดหน้าผักสามสหาย
- มะละกอ
- นมพร่องมันเนย
พฤหัสบดี
- โจ๊กหมูก้อนใส่แครอท
- แก้วมังกร
- นมพร่องมันเนย
- ข้าวผัดปลาแซลมอน
- แกงจืดสาหร่ายทรงเครื่อง
- องุ่น
- ข้าวสวย
- แกงจืดไข่น้ำหมูสับ
- ปลาอบซอส
- นมพร่องมันเนย
ศุกร์
- ข้าวต้มกุ้งทรงเครื่อง
- น้ำส้มคั้น
- อุด้งน้ำใส่ไข่
- นมพร่องมันเนย
- ผลไม้รวมมิตร
- ข้าวสวย
- แกงจืดตำลึงไก่สับ
- ปลาทอด
- นมพร่องมันเนย
เสาร์
- ขนมปังปิ้ง
- ซุปผัก
- ไข่ดาวน้ำ
- นมพร่องมันเนย
- เกี๊ยวน้ำกุ้งสับ
- แคนตาลูป
- กล้วยน้ำว้า - ข้าวสวย
- เต้าหู้ไข่นึ่งหน้าหมู
- ผัดผักกาดขาวแครอท
- นมพร่องมันเนย
อาทิตย์
- ไข่กระทะทรงเครื่อง
- ขนมปังปิ้ง 1 แผ่น
- น้ำส้มคั้น
- ข้าวสวย
- ไข่ยัดไส้
- ผัดผักรวมมิตร
- นมพร่องมันเนย - ข้าวสวย
- แกงจืดวุ้นเส้นไข่น้ำใส่ผักกาดขาว
- หมูสับทรงเครื่อง
- นมพร่องมันเนย
 

ขอบคุณข้อมูลจาก
แผนกโภชนบำบัด
โรงพยาบาลนนทเวช