การออกกำลังกายฝึกการหายใจด้วยเครื่อง Incentive Spirometer (IS)
แบบ Triflow หรือ Tri ball
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดเพื่อให้ปอดขยายตัวได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถูกออกแบบมาทำให้เกิดการถอนหายใจหรือการหาวโดยการให้ผู้ป่วยหายใจเข้าอย่างช้าๆจนรู้สึกว่าหายใจเข้าลึกจนสุดเต็มที่แล้ว โดยมีลูกบอลเป็นตัวแสดงระดับความสามารถของผู้ป่วยเมื่อฝึกหายใจได้แรงพอลูกบอลใน Triflow จะลอยขึ้นสูงสุดและลอยค้างนานที่สุดเพื่อให้ได้ปริมาตรอากาศเข้าปอดได้เต็มที่คือให้ flow สูงสุดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานที่สุด
ส่วนประกอบของ Trifow
Triflow เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฝึกการหายใจชนิดควบคุมการไหลเข้าของอากาศแบบลูกลอย 3 ลูก ซึ่งประกอบไปด้วย ช่องปริมาตรอากาศ 3 ช่อง ได้แก่ 600, 900 และ 1,200 ซีซี/วินาที และท่อหายใจและปากคาบ (mouth piece)
ประโยชน์ในการใช้เครื่องบริหารปอด ชนิด Triflow
- 1. เพิ่มปริมาตรปอด
- 2. เพิ่มการระบายอากาศ
- 3. เพิ่มการแลกเปลี่ยนก๊าซ
- 4. ทำให้เกิดรูปแบบการหายใจที่ถูกต้อง
- 5. กระตุ้นให้ปอดขยายตัวมากขึ้น
- 6. ส่งผลให้เสมหะถูกขับออกมาได้ง่าย
- 7. ป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่มักจะเกิดขึ้นหลังผ่าตัด เช่น ปอดแฟบ ปอดอักเสบ และเสมหะคั่งค้าง
ผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการใช้เครื่อง
- 1. ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดใหญ่ เช่น ผ่าตัดปอด ทรวงอก หัวใจและช่องท้อง
- 2. ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการหายใจ
- 3. ผู้ป่วยที่นอนบนเตียงเป็นเวลานานๆ
- 4. ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
วิธีการดูแลทำความสะอาด
ถอดท่อหายใจออกทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่ ผึ่งวางไว้จนน้ำที่ค้างในท่อแห้งก่อนนำมาประกอบเก็บเหมือนเดิม
วิธีการใช้งาน Incentive Spirometer
|
|
|
ข้อเสนอแนะ
- 1. การใช้เครื่อง Triflow ให้ทำตอนไหนก็ได้ ควรทำเป็นชุด ชุดละ 5-10 ครั้ง ทำวันละกี่ชุดก็ได้ตามความพร้อมของร่างกาย
- 2. ควรสอนก่อนผ่าตัดทุกราย
- 3. กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูดจนลูกบอลขึ้นได้ ให้พยายามทดลองทำหลายๆ ครั้งก่อนโดยให้กำลังใจจนแน่ใจว่าไม่สามารถทำได้จริงๆ อาจใช้เทคนิคคว่ำ Triflow ลง แล้วให้ผู้ป่วยเป่าลมจนเห็นลูกบอลลอยขึ้น ซึ่งวิธีนี้เป็นการทำเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าทำได้ดีแต่ไม่มีผลให้ปอดขยาย ดังนั้นจึงควรสอนให้ผู้ป่วยหายใจเข้าให้เต็มปอดก่อนแล้วจึงเป่าซึ่งขณะหายใจเข้าจะทำให้ปอดขยายหรือทำให้ฝึกการหายใจโดยการทำ Deep breathingexercise ด้วยตัวเอง
- 4. กรณีผู้ป่วยเด็กที่ไม่สามารถดูด Triflow ได้ อาจใช้เทคนิคโดยการเป่าลูกโป่งเป่ากบหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยร้อง
ภาวะแทรกซ้อน
ที่อาจเกิดขึ้นในขณะหรือภายหลังการใช้
- 1. หายใจเร็ว
- 2. ขาดออกซิเจนเนื่องจากการให้ออกซิเจนบำบัดถูกขัดจังหวะ
- 3. อ่อนล้า
- 4. ไม่สุขสบายเนื่องจากเจ็บปวดแผลผ่าตัด
- 5. ถุงลมปอดแตก
ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการสอนและฝึกใช้เครื่องบริหารปอด Triflow อย่างถูกต้องจากแพทย์ พยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00 - 20.00 น. วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 -17.00 น.
เอกสารอ้างอิง
ขนิษฐารัตนกัลยา, "การโค้ชการบริหารการหายใจโดยใช้เครื่องบริหารปอดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด, "วารสารพยาบาลทหารบก 19 ฉบับพิเศษ, (พฤษภาคม - สิงหาคม 2561) : 1-9.
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, การใช้ Trifloอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ [ออนไลน์].30 May, 2014
แหล่งที่มา : https://www2.si.mahidol.ac.th /km/cop/clinical/respiratory/5137/
[12มกราคม 2564]