กุ้งยิงคืออะไร
กุ้งยิงหรือตาเป็นกุ้งยิง คือภาวะที่ตามีฝีเล็กๆ ที่เปลือกตาบนหรือเปลือกตาล่าง กุ้งยิงอาจจะเป็นแบบชนิดหัวโผล่ออกด้านนอกหรือหัวมุดเข้าด้านในเปลือกตา ตำแหน่งฝีจะอยู่ตรงขอบเปลือกตาอาการที่สำคัญ
- 1.อาการขั้นแรกเริ่มจะรู้สึกคันรงบริเวณเปลือกตาตรงใกล้ๆ จุดที่จะเกิดฝี
- 2.ต่อมาอีกหนึ่งถึงสองวันจะเริ่มมีสีแดงบริเวณขอบตาที่เป็นฝีและมีอาการเจ็บเล็กน้อย
- 3.ระยะต่อมาถ้าไม่ได้รับการรักษา บริเวณที่เป็นนี้จะเริ่มกดเจ็บและมีอาการเจ็บๆ คันๆ
- 4.ต่อมาจะเป็นฝีเห็นชัดฝีจะสีแดง กดเจ็บ ก้มศีรษะต่ำจะรู้สึกปวดบริเวณเปลือกตาตุบๆ
- 5.ฝีก่อตัวชัดเจน จะแยกชนิดให้เห็นได้ว่าเป็นแบบหัวเข้าในหรือออกนอกหัวเข้าใน จะมองไม่เห็นหัวฝี บริเวณเปลือกตาต้องพลิกปลิ้นด้านในออกมาจึงเห็นหัวออกนอก มองเห็นมองเห็นหัวฝีบริเวณเปลือกตาเป็นตุ่มแดงเรื่อๆ
- 6.กุ้งยิงชนิดที่ไม่มีอาการ (chalazion) แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกรำคาญเมื่อเอานิ้วมือคลำเปลือกตา หรืออาจจะระคายเล็กน้อย ถ้าก้อนโตจะดันกระจกตาทำให้ตามัวได้
การรักษากุ้งยิง
-
1. ชนิดหัวเข้าในและออกนอก พวกนี้มีอาการอักเสบ แบบติดเชื้อ ควรรักษาโดย
- ก. ประคบน้ำอุ่น 3 – 5 วันทุก 4 ชั่วโมง นาน 10–15 นาที
- ข. ป้ายยาปฏิชีวนะชนิดยาประจำบ้าน ป้ายบริเวณฝีและ ในตา วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ยาปฏิชีวนะชนิดหยอดบ่อยๆ ทุก 2 ชั่วโมงติดต่อกัน 3–7 วันก็ได้
- ค. ปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าวแล้วฝียิ่งโตวันโตคืน อาการปวดเพิ่มมากขึ้น ควรไปพบจักษุแพทย์
- ง. เมื่อแพทย์พิจารณาดูถี่ถ้วนแล้ว เห็นสมควรจะเจาะเอา หนองออก อาการทุกอย่างจะหายไปการผ่าตัดเจาะฝี เปลือกไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหรือน่าหวาดเสียว เพียงใช้ยาชา เฉพาะที่และเครื่องมือพิเศษเจาะฝีเพียงเวลา 10 นาที ก็แล้วเสร็จ ปิดตาไว้ 3 – 4 ชั่วโมง ไม่มีแผลเป็น ไม่ทำให้ เปลือกตาเสียรูปร่างหรือดูน่าเกลียด
-
2. ชนิดที่ไม่เจ็บปวด ( chalazion ) ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- ก. เอาน้ำอุ่นประคบบ่อยๆ เหมือนข้อ 1 ทำติดต่อกัน ประมาณ 1 สัปดาห์ พร้อมกับหยอดยาแก้อักเสบ ป้องกันการติดเชื้อวันละ 3 – 4 ครั้ง
- ข. ถ้าไม่ยุบควรไปหาจักษุแพทย์เพื่อพิจารณาเจาะหรือ เจาะเอาไขมันภายในก้อนออก การผ่าตักใช้กรรมวิธี เดียวกับการผ่าตัดเจาะฝีกุ้งยิงชนิดแรก
การป้องกันมิให้เกิดโรคนี้
- 1. การป้องกันตัวค่อนข้างยาก เพียงให้ข้อแนะนำคือ พยายามรักษาความสะอาดบริเวณตาให้ดี เมื่อมี อาการอักเสบบริเวณเปลือกตา หรือขอบตาให้รีบ รักษาหรือปรึกษาแพทย์
- 2. บางคนได้รับการแนะนำให้กินวิตามินเอ หรือซีเพื่อ ภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจช่วยได้บ้าง
- 3. พยายามพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการปะทะฝุ่น ลมแรงหรือแสงจ้า โดยเฉพาะแสงแดดจัด และควันบุหรี่
- 4. ใช้น้ำสะอาดล้างหน้า ไม่พยายามใช้มือที่ไม่สะอาด เช็ดตาหรือขยี้ตาอันจะเป็นทางให้เชื่อแบคทีเรีย เข้า สู่ต่อมเปลือกตาได้
- 5. ใช้สายตาให้พอดีกับความสามารถ อย่าฝืนใช้ตา มากหรือนานเกินไปจะทำให้ปวดกระบอกตา เมื่อยล้า และแสบเคืองตา เป็นผลให้ความต้านทานลดน้อยลง โอกาสไวต่อเชื้อย่อมมีมาก
- 6. ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรซื้อยาหยอดตาตามร้านขายยา มาหยอดเองโดยไม่ทราบแน่ว่าเป็นโรคตาชนิดไหน เพราะยาหยอดตาที่มีขายตามร้านทั่วไปแม้จะเป็นยา ที่มีส่วนผสมสตีรอยด์ซึ่งลดการอักเสบ ลดอาการ บวมได้ก็จริง แต่อาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย ได้ง่ายกว่าปกติ
กุ้งยิงทำไมเป็นแล้วเป็นอีก
กุ้งยิงไม่ว่าชนิดไหนเป็นแล้วอาจเป็นได้อีก แต่จะเป็น ตรงตำแหน่งใหม่ไม่ใช่ตรงที่เดิม หมายถึงเกิดการ อักเสบที่ต่อมอื่นตาข้างเดิมหรือตาอีกข้าง เพราะ มีการติดเชื้อ ซ้ำสองหรือสาม แล้วแต่การปฏิบัติตัว การรักษาความสะอาด หรือการรักษาสุขภาพร่าง- กายให้มีความแข็งแรงมีภูมิต้านทานมากน้อยแค่ไหน ถ้าภูมิคุ้มกันต่ำ โอกาสเป็นซ้ำหรือเป็นๆ หายๆ ย่อม มีได้เสมอ คนที่ไวต่อเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนมากับ อากาศ ฝุ่นละออง หรือน้ำล้างหน้าก็อาจเป็นง่าย
คนที่เป็นแล้วเป็นอีกนั้น แสดงว่าในระยะนั้น อาจเป็นระยะที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย ไวต่อการติดเชื้อ หรือปฏิบัติตัวไม่สะอาดพียงพอ ดังกล่าว