โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร?
อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผลของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ต่อทารก
ผลของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ต่อมารดา
ปัจจัยเสี่ยงในการเป็น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์• มีน้ำหนักเกิน |
เวลาที่ควรตรวจคัดกรอง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์• การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรทำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ |
วิธีรักษาตนเองเมื่อเป็น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
• การรับประทานอาหารในหญิงที่เป็นโรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์จะแตกต่างกันไปตามระดับค่าน้ำตาลในเลือด ซึ่งแพทย์ที่ดูแลสุขภาพจะช่วยแนะนำโปรแกรมการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพต่อทั้งมารดาและทารก ทานอาหารคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสมและเลือกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เมนูอาหารจะเหมือนกับผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วไป คือมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่
• หากคุณไม่สามารถปฏิบัติตามโปรแกรมที่แพทย์แนะนำ หรือยังคงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ จะทำให้ร่างกายมีการสร้างสารคีโตน โดยสารคีโตนจะพบได้ในปัสสาวะหรือเลือด ซึ่งหมายถึงร่างกายมีการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน แทนที่จะใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
• แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหาสารคีโตนในปัสสาวะในเลือด ถ้าหากมีสารคีโตนในระดับสูง แพทย์จะปรับเปลี่ยนประเภท ปริมาณของอาหารที่รับประทาน และเวลาการรับประทานอาหาร
เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย
• การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จะช่วยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสอยู่ในช่วงเป้าหมายที่กำหนด
• ถ้าคุณมีความดันโลหิตสูง หรือมีระดับคอเลสเตอรอลสูง การออกกำลังกายจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรงได้
• การออกกำลังกายจะช่วยลดความเครียด เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก หัวใจ กล้ามเนื้อ ทำให้ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหวได้สะดวกและ ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
* อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์
จะป้องกันหรือชะลอการเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้อย่างไร• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนัก • ให้นมบุตรด้วยตัวเอง การให้นมจะช่วยให้เผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น • หากผลตรวจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานในอนาคต และคุณกำลังมีภาวะน้ำหนักเกิน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณน้ำหนักที่ควรลดลง เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว |
ขอบคุณข้อมูลจาก
นายแพทย์จิระพงค์ อุกะโชค
อายุรแพทย์โรคระบบต่อมไร้ท่อ
(เบาหวาน-ธัยรอยด์)
ศูนย์เบาหวาน