มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง (ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
-
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
1.อายุ 50 ปีขึ้นไป
2.คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
3.มีภาวะโรคอ้วน และมีวิถีชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย
4.เคยมีประวัติลำไส้อักเสบเรื้อรัง
5.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
6.การสูบบุหรี่ ,ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
-
อาการและอาการแสดง
- ช่วงที่เริ่มเป็น ไม่มีอาการผิดปกติ
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด, เป็นมูก หรือเป็นมูกเลือด
- ท้องผูกสลับท้องเสียที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือไม่เคยเป็นมาก่อน
- ซีด โดยที่หาสาเหตุไม่ได้
- ท้องผูกมากผิดปกติ หรือมีอาการถ่ายไม่สุดหลังถ่ายอุจจาระแต่ละครั้ง
- ปวดท้องเรื้อรังมานาน
- สังเกตว่าลำอุจจาระมีขนาดลีบเล็กลง
- ผอมลง หรือน้ำหนักตัวลดลง แบบไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
-
วิธีการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
ออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือเฉลี่ย 3 วันต่อสัปดาห์
ไม่สูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูงๆ อาหารฟาสต์ฟู้ด เนื้อแดง เนื้อแปรรูป และควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ
-
ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ส่วนหนึ่งป้องกันได้หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และตรวจคัดกรองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ (ที่มา : WHO guideline 2018)
-
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดออกแฝงในอุจจาระ
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ฯลฯ- สามารถทำได้ภายในหนึ่งวันเพียงแค่ งดน้ำ และอาหารมา 6-8 ชม.
- ระยะเวลาทำ 20-30 นาที
- ทำในขณะหลับ โดยได้รับยานอนหลับแบบฉีด ไม่เจ็บ
- สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำเสร็จ
-
ใครบ้างที่ควรมาตรวจคัดกรอง
บุคคลทั่วไปที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป
คนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเริ่มตั้งแต่อายุ 35-40 ปีขึ้นไป
คนที่มีอาการทางลำไส้ที่ผิดปกติ ไม่จำกัดอายุ
ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ
ขับถ่ายผิดปกติ หรือมีเลือดปนในอุจจาระ
น้ำหนักตัวลดลงไม่ทราบสาเหตุ
มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
เพราะระบบทางเดินอาหาร มีการทำงานที่ซับซ้อน...จึงต้องการการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal&Liver Center) โรงพยาบาลนนทเวช พร้อมด้วยทีมอายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ และแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเคมีบำบัด พร้อมให้บริการตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและตับทั้งระบบ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
นพ. อานนท์ พีระกูล
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ