ต้อกระจก คืออะไร โรคต้อกระจก เกิดจากการขุ่นมัวของเลนส์ตา โดยปกติเลนส์ตามีลักษณะใส ทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงพอดีบนจอประสาทตา เมื่อเกิดต้อกระจกจอประสาทตารับแสงได้ไม่เต็มที่ทำให้ผู้ป่วยมีสายตาพร่ามัว เหมือนมองผ่านกระจกฝ้า แต่ไม่มีอาการอักเสบหรือเจ็บปวดใด ๆ ยิ่งแก้วตาขุ่นขึ้น การมองเห็นก็จะลดน้อยลง
รู้จริงเรื่องต้อกระจก
- • ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อและจะไม่ลุกลามจากตาข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองตาแต่อาการอาจรุนแรงไม่เท่ากัน
• การใช้สายตามาก ๆ ไม่เป็นสาเหตุของต้อกระจกหรือทำให้อาการของโรคนี้รุนแรงขึ้น
• ต้อกระจกมักเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ กว่าที่สายตาของผู้ป่วยส่วนมากจะขุ่นมัวจนมองเห็นไม่ชัด อาจใช้เวลานานเป็นหลายเดือนหรือหลายสิบปี โดยทั่วไปต้อกระจกถือว่าเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ผลดีมาก
สาเหตุของต้อกระจก
-
- วัย สาเหตุของต้อกระจกที่พบบ่อยที่สุด คือ ความชราซึ่งทำให้แก้วตาขุ่นมัวและแข็งขึ้น แต่ต้อกระจกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นได้บ้างในผู้ป่วยที่มีอายุเพียง 40 ปี
- อุบัติเหตุ ต้อกระจกเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย หากดวงตาได้รับอันตรายจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงโดนของมีคมหรือแสงรังสี
- โรคตาหรือโรคทางร่างกายบางโรค เช่น การติดเชื้อโรคเบาหวาน การรับประทานยาบางชนิดและโรคตาบางโรคอาจจะเป็นสาเหตุหรือกระตุ้นให้ต้อกระจกขุ่นเร็วขึ้นได้
- กรรมพันธุ์และความผิดปกติแต่กำเนิด ในกรณีที่ผู้ป่วยยังเยาว์วัย ต้อกระจกเกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ หรือการติดเชื้อ และการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ แต่ในหลายรายต้อกระจกก็เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด
อาการของต้อกระจก
- • สายตามัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง จะมัวเร็วหรือช้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นมัวในเนื้อเลนส์แก้วตา หากเป็นเฉพาะในบริเวณขอบ ๆ ผู้ป่วยจะยังมองเห็นได้ชัดตามปกติ
- • เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า และสู้แสงไม่ได้ อาการระยะแรกของต้อกระจกในบางรายสายตาผู้ป่วยจะสั้นขึ้นทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ เมื่อต้อกระจกรุนแรงขึ้น สายตาจะขุ่นมัวจนแว่นตาช่วยอะไรไม่ได้ รูม่านตาที่ปกติเห็นเป็นสีดำจะกลายเป็นสีเหลืองหรือขาว
วิธีรักษาต้อกระจก
ในบางกรณี จักษุแพทย์บางท่านอาจใช้ยาหยอดตาเพื่อพยายามชะลอความรุนแรงของต้อกระจก แต่ไม่มียาชนิดใดสามารถลดหรือหยุดต้อกระจกได้ เมื่อสายตาขุ่นมัวจนเกิดความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติแล้วการผ่าตัดหรือการสลายต้อกระจก จะเป็นวิธีรักษาที่ช่วยทำให้สายตาของผู้ป่วยใสขึ้นและมองเห็นได้ดังเดิม
ขั้นตอนการรักษา
จักษุแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียดเพื่อแยกชนิดตำแหน่งและความรุนแรงของต้อกระจก นอกจากนี้จักษุแพทย์ยังต้องวัดความดันตา และตรวจน้ำวุ้นตากับจอประสาทตาอย่างละเอียด เพื่อให้ทรายแน่ชัดว่าต้อกระจกเป็นสาเหคุเดียวที่ทำให้สายตาขุ่นมัว หรือมีโรคอื่นประกอบด้วย
วิธีการลอกต้อกระจกที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 2 วิธี ภายหลังการลอกต้อกระจกแล้ว จักษุแพทย์จะใส่เลนส์แก้วตาเทียมให้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้มองเห็นได้เป็นปกติ
|
|
ทำไมต้องใส่เลนส์แก้วตาเทียม?
ภายหลังการลอกเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออกแล้วดวงตาจะไม่มีเลนส์แก้วตาทำหน้าที่รวมแสง มีผลให้สายตายังมัวอยู่ ดังนั้นจักษุแพทย์จึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเพื่อให้มองเห็นได้เป็นปกติ
เลนส์แก้วตาเทียมมีอายุการใช้งานได้นานตลอดชีพมากกว่า 95 % ของผู้ที่เข้ารับการรักษาต้อกระจกและได้รับการใส่เลนส์แก้วตาเทียมอาจขุ่นมัวหลังจากการใส่เลนส์แก้วตาเทียมเป็นเวลานาน สายตาที่เคยเห็นได้ชัดเจนก็จะค่อย ๆ มัวลงบ้าง จักษุแพทย์จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วง่ายดายและไม่เจ็บปวดด้วยการใช้ “แย็กเลเซอร์” (Yag Laser) ขจัดความขุ่นนี้ให้หมดไปได้ทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก
นายแพทย์สิทธิ ตั้งกิจวงศ์ไพศาล
จักษุวิทยา/กระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
แผนกตา หู คอ จมูก