วิธีแก้ไข “ภาวะการมีบุตรยาก” ปัญหาหนักใจของคนอยากมีลูก

วิธีแก้ไข “ภาวะการมีบุตรยาก” ปัญหาหนักใจของคนอยากมีลูก

   ปัญหามีลูกยากหรือภาวะการมีบุตรยาก ถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคู่รักที่กำลังวางแผนมีบุตร ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลนทเวช มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการดูแลรักษาคู่สมรสทีมีบุตรยาก พร้อมวางแผนการมีบุตร ค้นหาสาเหตุและแก้ไขอย่างตรงจุด

รวมถึงแนะนำแนวทางการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของระบบภายในผู้หญิง และมีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้มีบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

คู่รักบางคู่ที่วางแผนเตรียมพร้อมมีลูกโดยใช้วิธีธรรมชาติแล้วยังไม่สำเร็จหรือมีข้อจำกัดบางอย่าง เรามีวิธีแก้ไขที่ตอบโจทย์และเห็นผลดีกว่ามาแนะนำ

มีลูกยากแต่อยากมีลูก...มีทางแก้

หลายครอบครัววางแผนจะมีลูกในอนาคตแต่ปัญหาคือมีลูกยากจะทำยังไงดี? ซึ่งอาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้ตอนนี้ยังมีลูกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัญหาสุขภาพ หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งปัจจัยสำคัญอย่างอายุที่ไม่เคยคอยใคร ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสในการมีลูกก็ยากขึ้นเช่นกัน

   ดังนั้นใครที่อยากวางแผนมีลูกในอนาคต การรักษาภาวะมีบุตรยาก ถือเป็นแนวทางทางการแพทย์ที่ช่วยเพิ่มอัตราการประสบความสำเร็จของการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น โดยเทคโนโลยีทางการแพทย์เหล่านี้จะช่วยตอบโจทย์คนมีบุตรยากและเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับคนอยากมีลูกเพื่อเติมเต็มชีวิตคู่ให้สมบูรณ์

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก เป็นปัญหาที่คู่รักหลายคู่ต้องเผชิญ สาเหตุเกิดได้ทั้งจากฝ่ายผู้ชายและผู้หญิง อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพต่างๆ ความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โรคประจำตัวของแต่ละฝ่ายที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ หรือการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ได้ส่งเสริมการมีบุตร

  • อายุที่มากขึ้น
  • ความเครียด
  • ท่อนำไข่ตีบตัน
  • ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ
  • มีเนื้องอกที่มดลูก
  • เคยมีประวัติการแท้ง
  • จำนวนอสุจิน้อย อสุจิรูปร่างผิดปกติ และเคลื่อนที่ช้า
 ตรวจหาสาเหตุการมีบุตรยาก เตรียมพร้อมก่อนมีลูก

ขั้นตอนแรกคือหาสาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก ซึ่งจำเป็นต้องตรวจทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเพราะภาวะมีบุตรยากสาเหตุอาจเกิดจากทั้งสองฝ่ายร่วมกันได้

ใครบ้างที่ควรตรวจ?

  • คู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยไม่ได้ป้องกัน
  • คู่ที่แต่งงานมานานแต่ยังไม่มีบุตร
  • คู่สมรสที่วางแผนจะมีบุตร
 
วิธีแก้ไข รักษาภาวะมีบุตรยาก

การรักษาภาวะมีบุตรยากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ระยะเวลา อายุของคู่สมรส และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ

1. การตรวจน้ำอสุจิ และหน้าที่การทำงานของตัวอสุจิ (Semen Analysis)

เป็นการตรวจเพื่อทดสอบหาปริมาณ การเคลื่อนไหว และความผิดปกติของเชื้ออสุจิ  เพื่อบ่งบอกภาวะความเป็นหมันในผู้ชาย ซึ่งการมีตัวอสุจิน้อยเคลื่อนไหวไม่ดี หรือมีความบกพร่องในการทำงานของอสุจิ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากที่พบได้สูงถึงเกือบ 50% ของสาเหตุทั้งหมด

2. การตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดและปัสสาวะ (Hormonal Assay)

เป็นการตรวจวัดระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่ เพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัยฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับการตกไข่  รวมทั้งตรวจฮอร์โมน แอล เอช (LH) ในปัสสาวะเพื่อดูการตกไข่ และตรวจเอช ซี จี (HCG) ในปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์

3. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)

เป็นการตรวจอุ้งเชิงกรานด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะไม่ใช้รังสีเอกซ์ คลื่นแม่เหล็ก หรือคลื่นวิทยุ โดยคลื่นจะถูกส่งออกไปในทิศทางที่ต้องการโดยผ่านหัวตรวจที่แนบกับผนังช่องท้อง และยังมีหัวตรวจพิเศษที่ใช้ตรวจผ่านทางช่องคลอด  ทำให้เห็นภาพของมดลูกและรังไข่ได้ชัดเจนกว่าการตรวจทางหน้าท้อง

4. การรักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Laparoscopic Gynecological Surgery)

เป็นการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือชนิดพิเศษร่วมกับกล้องส่องเข้าไปในช่องท้อง สามารถตรวจและมองเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจนเพื่อรักษาโรคทางนรีเวช เช่น ถุงน้ำรังไข่ ช็อคโกแล็ตชีสต์ พังผืดในอุ้งเชิงกราน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ วิธีนี้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและอาการปวดหลังผ่าตัด แผลเล็กลง ฟื้นตัวเร็ว พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน ก็สามารถกกกกลับบ้านได้

5. การใช้ยากระตุ้นไข่และนับวันให้มีเพศสัมพันธ์ (Ovulation Induction and Timing of Intercourse) สำหรับในรายที่มีปัญหาไข่ไม่ตก 
6. การผ่าตัดแก้หมัน และจุลศัลยกรรมของท่อนำไข่ Tubal Re-anastomosis (Reversal of Tubal Resection) and Tuboplasty

การทำจุลศัลยกรรมของท่อนำไข่ ในรายที่ต้องการแก้หมันและมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานไม่มาก การผ่าตัดต่อท่อนำไข่สามารถทำผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายถึง 20 เท่า

7. การทำกิ๊ฟท์ (Gamete Intrafallopian Transfer: GIFT)

เป็นการนำไข่สุกเต็มที่ของฝ่ายหญิงและอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกแล้วฉีดกลับเข้าไปที่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายในร่างกายฝ่ายหญิง

8. การทำซิฟท์ (Zygote Intrafallopian Transfer: ZIFT)

เป็นการนำตัวอ่อนที่ได้หลังจากการปฎิสนธิภายนอกร่างกายก่อนที่จะมีการแบ่งตัว แล้วใส่กลับเข้าไปฝังที่ท่อนำไข่

9. การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะ (TESE)

เป็นการผ่าตัดเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อัณฑะเพื่อหาอสุจิออกมาทำอิกซี่ (ICSI) ในกรณีที่ฝ่ายชายมีท่ออสุจิตีบตัน ไม่มีตัวอสุจิออกมาในน้ำเชื้อ

10. การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intra uterine insemination: IUI)

การฉีดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง เคลื่อนไหวดี กลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงวันที่มีไข่ตก และจะตรวจอัลตร้าซาวด์ดูขนาดฟองไข่ เมื่อฟองไข่โตสมบูรณ์แล้วจะฉีดยาเพื่อบังคับให้ไข่ตกและเชื้ออสุจิมาพบกันในเวลาเดียวกัน  โดยอาจเป็นรอบธรรมชาติหรือรอบที่ให้กระตุ้นไข่

 

 แพคเกจสำหรับผู้มีบุตรยาก และเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร