ปวดท้อง ปวดเป็นๆ หายๆ ปวดแป๊บเดียว กินยาเดี๋ยวก็หาย อาการปวดท้องใครๆ ก็เป็นได้ แต่ความจริงแล้วการปวดท้องนี่แหละอาจนำไปสู่โรคต่างๆ สาเหตุของการปวดท้องน้อย นั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ โดยผู้หญิงหลายคนคิดว่าการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ
แต่ในบางรายอาจปวดมากถึงขึ้นต้องกินหรือฉีดยาระงับอาการปวด หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดร้าวที่หลังเอว ก้นกบ หรือถ่ายอุจจาระช่วงมีประจำเดือนจะมีอาการปวดเบ่ง ปวดถ่ายมาก บางคนท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย หรือเจ็บมดลูกหรือท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์
เช็กให้ชัวร์ก่อนสายเกินแก้ อาการปวดท้อง เรื่องเล็กๆ ที่หลายคนมักมองข้าม อาจมีต้นเหตุที่ร้ายแรงมากกว่าที่คิด ปวดท้องซ้าย ปวดท้องบน ปวดท้องล่าง ปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวานี่ไม่ใช่เล่น ๆ แล้วนะคะ เพราะอาการปวดท้องนั้น มีสาเหตุมาจากอวัยวะภายในร่างกายของเรา มีอาการผิดปกติ หรือมีอาการบาดเจ็บภายใน ปล่อยทิ้งไว้ไม่ดีแน่ อาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจร่างกาย ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อการวินิจฉัยโรค สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ
อาการปวดท้องน้อย ปวดท้องเวลามีประจำเดือน เป็นอาการความผิดปกติที่บางครั้งเมื่อเรารับประทานยาแก้ปวด อาการปวดก็จะดีขึ้น แต่มีบางทีที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง ไปเอว ไปก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขามีอาการท้องอืด ท้องบวม
อาการปวดประจำเดือนดังกล่าวอาจจะมีสาเหตุหรือโรคบางอย่างที่ทำให้เกิดขึ้น ที่พบได้บ่อยคือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ( Endometriosis ) ซึ่งในระยะแรกจะเป็นตุ่มเล็กๆ ฝังตัวอยู่ในอุ้งเชิงกราน ทุกเดือนที่มีเลือดประจำเดือนออกทางช่องคลอด ตุ่มเล็กๆ ที่ฝังตัวในอุ้งเชิงกรานก็จะมีเลือดออกเช่นกันทุกเดือนจะฝังตัวมากขึ้น เมื่อเป็นมากจะมีพังผืดเกิดขึ้นไปพันรัดกับอวัยวะข้างเคียงทำให้มีอาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การมีเพศสัมพันธ์ แม้กระทั่งทำให้มีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไข่ไม่สามารถจับไข่ได้ ไข่ก็ไม่สามารถผ่านท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับตัวอสุจิ
การตรวจร่างกาย ตรวจภายใน อัลตร้าซาวด์ การตรวจค้นหาสาเหตุต่อไปคือการส่องกล้องเข้าไปในช่องท้องดูเพื่อตรวจว่าภายในอุ้งเชิงกรานมีพังผืด มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ ซึ่งสามารถผ่าตัดผ่านกล้องรักษาได้ในเวลาเดียวกัน
FAQs
ปวดท้องปวดๆ หายๆ เป็นอะไร ?
จริงๆ แล้วอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนจะมีอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง บางครั้งรับประทานยาแก้ปวดก็จะดีขึ้นแต่มีหลายรายที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง ไปเอว ไปก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขามีอาการท้องอืดท้องบวม ท้องใหญ่ขึ้น เวลามีระดูจะถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องเสีย บางรายถ่ายอุจจาระจะปวดเบ่งปวดถ่ายมากกว่าช่วงไม่มีประจำเดือน บางคนเวลามีประจำเดือนจะปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ปัสสาวะขัดหรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บท้องน้อย เจ็บมดลูก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรมี
ปวดท้องแบบไหนต้องรีบไปหาหมอ ?
- • ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ
- • ปวดประจำเดือนมากจนต้องกินยาแก้ปวดเป็นประจำ
- • ต้องไปพบแพทย์ทุกครั้ง เพื่อฉีดยาแก้ปวดเมื่อมีประจำเดือน
- • มีประจำเดือน ปวดท้องน้อยมากจนเป็นลม
- • มีประจำเดือน มีอาการปวดไปหลัง ไปเอว ก้นกบ ร้าวไปที่ขา
- • ถ่ายอุจจาระช่วงมีประจำเดือนจะปวดเบ่งถ่ายมากกว่าปกติ
- • ประจำเดือนจะปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ
- • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจำเดือน ได้รับการตรวจหลายครั้งไม่พบความผิดปกติ
- • มีระดู มีอาการปวดไปทวารหนัก
- • เจ็บมดลูกและท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์
อ้างอิง
1.บทความ เรื่อง ปวดประจำเดือน/ปวดท้องน้อยอย่างไร…ถือว่าผิดปกติ
https://www.nonthavej.co.th/Menstrual-Cramps.php
นพ.ประทีป หาญอิทธิกุล
สูติ-นรีเวช / ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช / มีบุตรยาก
ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Gynecology Laparoscopic and Hysteroscopic Surgery Center)