การขลิบหนังหุ้มปลายทารกแรกเกิด

การขลิบหนังหุ้มปลายทารกแรกเกิด

การขลิบหนังหุ้มปลาย (สำหรับทารกแรกเกิด) CIRCUMCISION คือการผ่าตัดเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่เป็นส่วนเกินออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถเปิดออก ซึ่งจะช่วยให้ ล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆ ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคราบปัสสาวะหรือคราบเหงื่อที่หมักหมมอยู่ในบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอันเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค ทั้งยังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อโรคในทางเดินปัสสาวะ โดยในทางการแพทย์เราสามารถทำ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศได้ตั้งแต่แรกเกิด วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ

วิธีขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • 1. ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำเร็จรูป
  •     เป็นการผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำเร็จรูปที่เรียกว่า Gomco clamp ซึ่งเครื่องมือนี้ มักใช้ทำกับเด็กทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็ก
  • 2. ใช้กรรไกรหรือจี้
  •     ผ่าตัดโดยใช้กรรไกรหรือจี้เพื่อตัดหนังหุ้มส่วนปลาย และทำการเย็บหนังหุ้มที่เหลือเข้าหากันโดยใช้ไหมเย็บ ซึ่งทำ โดยศัลยแพทย์มักทำในเด็กโตหรือในผู้ใหญ่
ประโยชน์ของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • 1. ป้องกันการติดเชื้อบริเวณหนังหุ้มปลาย
  • 2. รักษาการตีบตันของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • 3. ความเชื่อทางศาสนาหรือประเพณี
ข้อบ่งชี้ในการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • 1. มีการตีบตันของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • 2. มีการอักเสบของหนังหุ้มปลายและส่วนหัวของอวัยวะเพศบ่อยๆ
  • 3. มีการอักเสบเรื้อรังจนทำให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศติดหันแน่น
  • 4. มีการติดเชื้ดของทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • 5. มีความเชื่อทางศาสนา
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะพบได้
  • 1. เลือดออก
  • 2. ติดเชื้อ
  • 3. ท่อทางเดินปัสสาวะตีบ
  • 4. บาดเจ็บของท่อทางเดินปัสสาวะ

   การขลิบหนังหุ้มปลายทารกแรกเกิดนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่ เพราะทารกแต่ละคนมีสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดในเด็กโดยเฉพาะ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการรักษาป้องกันต่อไป

FAQ คำถามที่พบบ่อย

Q: การขลิบเจ็บมากหรือไม่?
A:การขลิบในทารกแรกเกิดจะใช้วิธีการระงับความเจ็บปวดที่เหมาะสมเพื่อให้ทารกไม่รู้สึกเจ็บมาก

Q: การขลิบปลอดภัยแค่ไหน?
A: การขลิบเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยมาก โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่ำ

Q: หลังการขลิบสามารถอาบน้ำได้ไหม?
A: สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ควรระวังไม่ให้แผลโดนน้ำมากเกินไป และใช้ผ้าขนหนูที่สะอาดเช็ดให้แห้ง

ขอขอบคุณข้อมูล

พญ.สิรีกุล เพชรอยู่
กุมารศัลยแพทย์ชำนาญการ
ศูนย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนนทเวช
30-10-2024