ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี แม้ไม่มีความเสี่ยงก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อเป็นการคัดกรองและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในอนาคต เพราะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หากรู้ทัน เข้ารับการรักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ในคนไทยที่ตรวจพบมะเร็งชนิดนี้อยู่ในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะบุคคลในครอบครัวเป็นญาติสายตรง ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้องและบุตร ควรเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งตามคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ
สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ทั้งหมด แต่สาเหตุหลักที่มีการศึกษาวิจัยพบว่าประมาณ 50-60% คือพันธุกรรม สาเหตุรองลงมา ประมาณ 30-40% คือ รูปแบบการใช้ชีวิตสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่นการทานอาหารที่มีกากใยน้อย การทานอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูง ภาวะโรคอ้วน การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดืมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เป็นต้น
สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ใหญ่
-
- ช่วงที่เริ่มเป็น ไม่มีอาการผิดปกติ
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด, เป็นมูก หรือเป็นมูกเลือด
- ท้องผูกสลับท้องเสียที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือไม่เคยเป็นมาก่อน
- ซีด โดยที่หาสาเหตุไม่ได้
- ท้องผูกมากผิดปกติ หรือมีอาการถ่ายไม่สุดหลังถ่ายอุจจาระแต่ละครั้ง
- ปวดท้องเรื้อรังมานาน
- สังเกตว่าลำอุจจาระมีขนาดลีบเล็กลง
- ผอมลง หรือน้ำหนักตัวลดลง แบบไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
3 วิธี รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
มะเร็งลำไส้และทวารหนักเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมตั้งแต่ยังไม่ปรากฎอาการ หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในปัจจุบันจะเป็นการดูแลผู้ป่วยร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์รังษีรักษา และอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา
โดยการรักษาต้องพิจารณาตามระยะและความรุนแรงของโรค แต่ต้องยอมรับว่าการผ่าตัดยังเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ และประมาณ 80% ของผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถผ่าตัดรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องทางหน้าท้องได้ ซึ่งจะเปลี่ยนจากแผลใหญ่ก็กลายเป็นแผลผ่าตัดที่เล็กลง ทำให้ผลการรักษามะเร็งดีขึ้นและผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้นลงกว่าการผ่าตัดแบบแผลใหญ่ด้วยการเปิดช่องท้องแบบปกติ
ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ส่วนหนึ่งป้องกันได้หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และตรวจคัดกรองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ (ที่มา : WHO guideline 2018)
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คัดกรองมะเร็ง
การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และการมาพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้ารู้เร็ว รักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
ทั้งนี้การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีแค่วิธีการส่องกล้องเพียงอย่างเดียว การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เริ่มต้นด้วยการตรวจอุจจาระด้วยวิธีพิเศษต่างๆ เมื่อตรวจพบเจอความผิดปกติจะนำไปสู่การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป เมื่อส่องกล้องแล้วเจอความผิดปกติก็จะให้การรักษาและป้องกันไปตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบขณะส่องกล้อง การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ ก้อนเนื้อที่ผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที สามารถกลับบ้านได้หลังจากทำเสร็จ
ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ส่วนหนึ่งป้องกันได้หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และตรวจคัดกรองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ (ที่มา : WHO guideline 2018) ปรึกษาแพทย์ ออนไลน์ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนนทเวช เพิ่มเติม ได้ที่ https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer.php
สาเหตุของอาการท้องอืดมักมีหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น มีกรดเกินในกระเพาะอาหาร การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นอักเสบหรือเป็นแผล แพ้อาหาร การรับประทานอาหารที่มากเกินไป ความเครียด ผลข้างเคียงของยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค แอสไพริน เป็นต้น ผู้ป่วยควรกินอาหารกลุ่มที่มีลมน้อยลงหรือพิจรณากินยาละลายลดลม
FAQs
อุจจาระแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ ?
มีวิธีสังเกตได้ง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องการขับถ่ายประมาณ 4 ข้อ ที่บ่งบอกว่าไม่ใช่ริดสีดวงธรรมดา และควรต้องมาพบแพทย์ คือ
- 1.ความผิดปกติของจำนวนครั้งในการขับถ่าย เช่นจากเดิมเคยถ่ายวันละ 1 ครั้ง เปลี่ยนแปลงเป็นถ่ายวันละ 4-6 ครั้งเป็นต้น
- 2.มีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะของอุจจาระ เช่น พบว่ามีมูกหรือเลือดปนในอุจจาระ หรือพบว่าลักษณะอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปเช่นจากเดิมเคยถ่ายอุจจาระเป็นก้อนกลับเปลี่ยนเป็นอุจจาระเหลว หรือเป็นลักษณะอุจจาระที่ก้อนลำเล็กลง
- 3.ลักษณะของการถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนไปเช่นต้องเบ่งมากขึ้น ถ่ายไม่สุด ไม่หมด เหลือค้างอยู่ ต้องเข้าห้องน้ำซ้ำ
- 4.การกลั้นอุจจาระที่ผิดปกติไปจากเดิม เราสามารถที่จะสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระได้เอง และหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ก็ควรมาปรึกษาแพทย์
มะเร็งลำไส้ปวดท้องแบบไหน ?
- ปวดท้องเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็ง ?
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักระยะแรกมักไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะทราบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว ซึ่งทำให้มีโอกาสการเสียชีวิตสูง การตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี แม้ไม่มีความเสี่ยงก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อเป็นการคัดกรองและป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต เพราะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากรู้ทัน เข้ารับการรักษาเร็วและถูกวิธีก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
อ้างอิง
บทความ เรื่อง มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบไว รักษาได้
https://www.nonthavej.co.th/Colorectal-cancer-H.php
นพ. อานนท์ พีระกูล
อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ศูนย์มะเร็งระบบทางเดินอาหารและตับ