
รากฟัน ถือเป็นส่วนที่สำคัญมากของฟัน หากเราไม่ดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก ปล่อยละเลยให้เกิดฟันผุแล้วไม่รีบรักษา จนอาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดผลกระทบต่อรากฟันทำให้สูญเสียฟันได้ ดังนั้น การรักษารากฟันจึงมีความสำคัญมาก
การรักษารากฟันคืออะไร?
การรักษารากฟัน คือ กระบวนการกำจัดเชื้อที่อยู่ในโพรงประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางของฟัน โดยจะกำจัดแบคทีเรียและเนื้อเยื่อในบริเวณคลองรากฟันที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ
รวมทั้งทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อเมื่อปราศจากการติดเชื้อ อุดคลองรากฟัน และบูรณะฟันด้วยการ การอุดฟันหรือครอบฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ การรักษารากฟัน เป็นเพียงวิธีการที่จะเก็บฟันไว้ให้อยู่ในช่องปากได้นานที่สุดแทนที่จะถอนออก และหลังจากรักษารากฟันโดยสมบูรณ์แล้วเราควรดูแลรักษาสุขภาพฟันให้เเข็งแรง
เมื่อไรต้องรักษารากฟัน?
ฟันผุลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน
ฟันแตกหรือหักทะลุโพรงฟัน
ฟันแตกหรือหักไม่ทะลุโพรงฟัน แต่เนื้อฟันที่เหลืออยู่ไม่สามารถบูรณะได้
ฟันร้าว หรือสึกจากการบดเคี้ยว หรือนอนกัดฟัน
วิธีการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันนั้นมีหลากหลายวิธี โดยทันตแพทย์จะเริ่มจากตรวจวินิจฉัยตามอาการ วิเคราะห์ตามจุดและความรุนแรงของการติดเชื้อของฟัน ซึ่งหลักสำคัญของการรักษารากฟันคือ ตรวจเช็คตำแหน่งโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ จากนั้นใส่ยาเพื่อฆ่าเชื้อในโพรงประสาทฟัน เมื่อมั่นใจแล้วว่าคลองรากฟันปราศจากเชื้อ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรักษารากฟัน อุดฟัน และหลังจากนั้นเป็นขั้นตอนการครอบฟัน
ขั้นตอนรักษารากฟัน
- 1.ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทางทันตกรรมในการกำจัดรอยผุบนตัวฟันออก
- 2.จะทำการกรอเปิดโพรงประสาทฟันเพื่อนำเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบออก
- 3.ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขนาดเล็กเข้าไปทำความสะอาดคลองรากฟัน ล้างคลองรากฟันด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อและใส่ยาเข้าไปในคลองรากฟัน จากนั้นจะปิดด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราวเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
- 4.ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายผู้เข้ารับการรักษาอีกครั้ง หากทันตแพทย์ประเมินอาการของผู้ป่วยแล้วพบว่า ไม่มีอาการปวดหรือบวม วัสดุอุดฟันชั่วคราวอยู่ในสภาพดี และสามารถใช้งานฟันได้ตามปกติ ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟัน จากนั้นจะส่งผู้เข้ารับการรักษาเพื่อบูรณะตัวฟันที่เหมาะสมต่อไป
โพรงประสาทฟัน ส่วนสำคัญของรากฟัน
โพรงประสาทฟัน คือ ส่วนที่อยู่ลึกสุดของฟัน เป็นที่อยู่ของเนื้อเยื่อ เส้นประสาท และเส้นเลือดจำนวนมาก มีหน้าที่สร้างเนื้อฟัน และถือเป็นส่วนของฟันที่ยังมีชีวิตอยู่ หากมีฝันผุลุกลามถึงในชั้นโพรงประสาทฟันจะเกิดการอักเสบติดเชื้อ ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา เชื้อโรคจะกระจายถึงปลายรากฟันและสามารถทำลายกระดูกรอบๆ ฟันทำให้เกิดอาการปวดฟันที่ค่อนข้างรุนแรงได้
ศูนย์ทันตกรรมปลอดเชื้อ
ให้บริการรักษารากฟัน รักษารากฟันที่มีการอักเสบติดเชื้อ ปวด บวม ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากฟันผุ หัก ร้าว ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือสาเหตุอื่นๆ ช่วยให้ผู้ป่วยยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอนทิ้งไป และให้บริการทันตกรรม โดยทันตแพทย์ พร้อมด้วยเครื่องมือทันตกรรมปลอดเชื้อเพื่อมุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้รับบริการเป็นสำคัญ และดูแลรักษาตลอดช่วงเวลาของการเข้ารับบริการ
ข้อควรปฏิบัติ หลังการรักษารากฟัน
- 1.หลังทำการรักษารากฟันอาจมีอาการปวดประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะกลับมาเป็นปกติ ระหว่างพักฟื้นหากมีอาการปวดสามารถทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งได้
- 2.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่กรอบแข็ง เหนียว ระหว่างในการรักษารากฟัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของเนื้อฟันที่เหลืออยู่
- 3.สามารถทำการแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดได้ตามปกติ
- 4.หากมีอาการปวดมากกว่า 2-3 วัน ควรสอบถามทันตแพทย์ที่ให้การรักษาอีกครั้ง เพื่อประเมินและรับการบรรเทาอาการปวดดังกล่าว
การรักษารากฟัน นั้นจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้เวลาในการรักษามากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้รับการรักษาให้ทันตแพทย์รักษารากฟัน ต้องแน่ใจว่ามีเวลาเพียงพอที่จะเข้ารับการรักษาเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันที่จะรับการรักษา
อ้างอิง:
แนะนำบริการศูนย์ทันตกรรมปลอดเชื้อ
https://www.nonthavej.co.th/Dental-implant.php
แพ็กเกจรากฟันเทียม
www.nonthavej.co.th/Dental-implant.php