
ครอบฟันคืออะไร?
การครอบฟัน คือ การครอบหรือการคลุมฟันที่เกิดการเสียหายหรือบิ่น ให้กลับมาแข็งแรงและมีรูปร่างคงเดิม ซึ่งการครอบฟันสามารถทดแทนฟันจริง หรือสามารถเสริมความแข็งแรงให้กับตัวฟันได้
โดยเป็นการสวมทับหรือครอบฟันเดิมด้วยวัสดุที่ทนทาน เช่น พอร์ซเลน, เซรามิก, โลหะผสม, หรือทองคำ เพื่อให้ฟันมีความแข็งแรง มีรูปร่าง และฟังก์ชันการใช้งานที่ดีอีกครั้ง นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงรูปลักษณ์ให้ดูดีและเป็นธรรมชาติอีกด้วย
วัสดุที่นิยมใช้ครอบฟัน มีหลากหลายวัสดุ โดยจะอยู่กับสภาพฟันที่ต้องการจะรักษาและความต้องการของผู้ป่วย
การเลือกครอบฟัน
ครอบฟันโลหะล้วน
การครอบฟันโลหะล้วน คือการใช้โลหะในการครอบฟันทั้งหมด โดยที่ไม่มีวัสดุอื่นผสม โดยโลหะที่ใช้ทำการครอบฟันมีหลายชนิด ได้แก่ ทองคำ (Gold) และโลหะผสม (Alloys) เช่น นิกเกิล หรือ โคบอลต์-โครเมียม
จุดเด่นของการครอบฟันโลหะก็คือ ความแข็งแรงความคงทน เพราะการครอบฟันโลหะนั้นมีโอกาสแตกหรือบิ่นน้อยมาก ครอบฟันโลหะเหมาะสำหรับฟันกรามที่ต้องใช้รับแรงบดเคี้ยวสูง
ครอบฟันเซรามิกล้วน
ครอบฟันเซรามิกล้วน คือการใช้วัสดุเซรามิกทั้งหมดในการทำครอบฟัน โดยไม่มีการผสมกับโลหะหรือวัสดุอื่นๆ ครอบฟันเซรามิกล้วนเป็นการครอบฟันที่มีลักษณะใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยสามารถเลียนแบบลักษณะและสีของฟันได้หลากหลาย โดยจะนิยมใช้กับฟันหน้า มี 2 แบบ คือ 1. ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบเซอร์โคเนีย (Zirconia) 2. ครอบฟันเซรามิกล้วนแบบแก้วเซรามิก (All-resin crown)
ครอบฟันเซรามิกผสมโลหะ
ครอบฟันเซรามิกผสมโลหะเป็นการผสมผสานระหว่างเซรามิกและโลหะเพื่อให้ได้คุณสมบัติที่ทนทานและรูปลักษณ์ที่ดูเหมือนฟันจริง ฐานของครอบฟันเป็นโลหะ และปกคลุมด้วยเซรามิกเพื่อให้ได้สีฟันที่เป็นธรรมชาติ ครอบฟันชนิดนี้แข็งแรงและทนทาน
ครอบฟันแบบเรซิน
ครอบฟันแบบเรซินทำจากวัสดุพลาสติก (คอมโพสิตเรซิน) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเซรามิกหรือโลหะ แต่มีความทนทานน้อยกว่าและอาจสึกหรอได้ง่ายกว่า ครอบฟันเรซินเหมาะสำหรับฟันที่ไม่ต้องรับแรงเคี้ยวมาก เช่น ฟันหน้า หรือใช้เป็นการชั่วคราวในระหว่างรอครอบฟันถาวร
ครอบฟันเหล็กไร้สนิม
ครอบฟันเหล็กไร้สนิมเป็นครอบฟันที่ทำจากโลหะเหล็กไร้สนิม มักใช้สำหรับฟันเด็ก เพื่อปกป้องฟันน้ำนมที่มีการผุรุนแรงหรือหลังจากการรักษารากฟัน ครอบฟันชนิดนี้แข็งแรงมากและมีราคาไม่แพง แต่ไม่ได้ให้รูปลักษณ์ที่เป็นธรรมชาติเหมือนชนิดอื่น ๆ มักใช้เป็นทางเลือกชั่วคราวหรือในกรณีที่ความสวยงามไม่ใช่ความกังวลหลัก
ข้อดีของการครอบฟัน
ช่วยให้ฟันแข็งแรง สามารถป้องกันการแตกหักของฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่ รวมไปถึงฟันที่ทำการรักษารากฟันแล้วด้วย
ใช้งานสะดวก ติดแน่น ยึดกับฟันได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดระหว่างการพูดคุยหรือรับประทานอาหาร
ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง
ครอบฟันมีอายุการใช้งานยาวนาน ประมาณ 5-15 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับวัสดุ วิธีการใช้งานและการดูแลรักษา
คงทนถาวรกว่าการใช้วัสดุอุดฟันทั่วไป
ข้อเสียของการครอบฟัน
หลังจากทำครอบฟันใหม่ๆ บางรายอาจรู้สึกเสียวฟันได้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์
การเคี้ยวของแข็งมาก อาจทำให้ครอบฟันเสียหาย หรือหลุดได้
ราคาสูงเมื่อเทียบกับการอุดฟัน
การกรอตกแต่งเนื้อฟันมีโอกาสทำอันตรายต่อโพรงประสาทฟันได้
จำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกมากกว่าการอุดฟัน
ขั้นตอนการทำครอบฟัน
-
1. ทันตแพทย์จะทำการเอกซเรย์เพื่อตรวจดูสภาพช่องปาก ฟัน และกระดูกว่าต้องการการรักษาแบบใดก่อนที่จะใส่ครอบฟันหรือไม่2. กรณีที่ต้องได้รับการรักษา เช่น มีฟันผุ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อฟัน หรือควรรับการรักษารากฟันก่อน ทันตแพทย์จะทำการรักษาตามกรณีไป3. ทันตแพทย์อาจทำการกรอฟันซี่ที่ต้องการสวมครอบฟันทั้งด้านบนและด้านข้าง เพื่อให้เหมาะสำหรับรับครอบฟัน ปริมาณฟันที่ถูกกรอออกขึ้นอยู่กับประเภทของครอบฟันที่คุณเลือกใส่4. เมื่อกรอฟันเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ฟัน และเช็กสีฟันรอบข้างเพื่อนำไปผลิตครอบฟันขนาดที่พอดีกับฟันของคุณ5. ระหว่างรอครอบฟันของจริงที่จะนำมาใช้ ทันตแพทย์อาจให้คุณใส่ครอบฟันชั่วคราวก่อนเพื่อป้องกันฟันที่ถูกกรอไปแล้ว6. เมื่อถึงกำหนดนัดหมายใส่ครอบฟันของจริง ทันตแพทย์จะถอดครอบฟันชั่วคราวออก และตรวจสอบขนาดครอบฟันของจริง และสีครอบฟันอันใหม่ว่าเข้ากับฟันซี่อื่นหรือไม่ หากทุกอย่างเรียบร้อย ทันตแพทย์อาจให้ยาชาเฉพาะที่ และทำการใส่ครอบฟันในที่สุด
การดูแลรักษาในระหว่าง และหลังการทำครอบฟัน
ผู้ใส่ครอบฟันสามารถดูแลครอบฟันของตนเองได้ด้วยวิธีปกติ ดังนี้
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการกัด หรือเคี้ยวของแข็งเกินไปสำหรับครอบฟันบางชนิด
ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะรอบตัวครอบฟันใกล้เหงือก
ราคาครอบฟัน
ครอบฟันบางส่วน INLAY/ONLAY ราคา 9,000 - 16,000 / ยูนิต (โดยราคาจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการทำครอบฟัน)
ครอบฟัน Crown ราคา 10,000 - 20,000 / ยูนิต (โดยราคาจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการทำครอบฟัน)
เหตุผลที่ควรทำครอบฟัน
เพื่อเพิ่มความมั่นใจ
คือ การใช้วัสดุครอบคลุมฟันที่เสียหาย เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงและปกป้องฟันจากการเสียหายมากขึ้น ซึ่งมักจะใช้ในกรณีที่ฟันได้รับความเสียหายจากการผุ หรือเกิดการแตกหักจากอุบัติเหตุ ฟันที่ได้รับการครอบฟันจะได้รับการปกป้องจากแรงกระแทกและแรงเคี้ยวในระยะยาว ช่วยให้สามารถใช้งานฟันได้ปกติ
เพื่อแก้ปัญหาฟันแตก
การทำครอบฟัน เป็นวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาฟันแตก ซึ่งการทำครอบฟันจะถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องฟันที่แตก โดยจะมีหลายวัสดุให้เลือกใช้ เช่น เซรามิกหรือโลหะ ซึ่งมีความเหมาะสมตามความต้องการและสถานการณ์ของฟันแต่ละกรณี การทำครอบฟันไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาฟันแตก แต่ยังช่วยคืนรูปร่างและความสามารถในการเคี้ยวอาหารได้ดีเหมือนเดิมอีกด้วย
ฟันแตก…อาการเป็นอย่างไร
ลักษณะภายนอกฟันจะบิ่น แตก หรืออาจมีเลือดออกร่วมด้วย
ฟันแตก ปัญหาฟันที่มีบางชิ้นส่วนของฟันบิ่นหรือแตกออกมาจากตัวฟัน โดยความเสียหายนี้เกิดขึ้นบริเวณผิวฟันทำให้ฟันผิดรูป เป็นรู มีลักษณะแหลม หรือเกิดรอยแยกบนฟัน โดยลักษณะภายนอกฟันที่บิ่นหรือแตกอาจมีเลือดออกร่วมด้วย มักเกิดจากการที่รอยแตกของฟันแตกลึกลงไปถึงเนื้อฟันหรือโพรงประสาทฟัน ซึ่งอาจทำให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่ภายในฟันแตกและทำให้เลือดออกมาได้ด้วย
หากฟันแตกถึงโพรงประสาทฟัน จะรู้สึกเจ็บปวด เสียวฟัน
ถ้าฟันแตกจนถึงโพรงประสาท อาจทำให้รู้สึกปวดมาก เพราะบริเวณนี้มีเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ไวต่อความรู้สึก หากถูกกระทบกระเทือนหรือได้รับความเสียหาย อาจทำให้ปวดหรือเสียวฟันได้ง่าย และบางครั้งอาจมีอาการบวมหรืออักเสบรอบๆ ฟันที่ได้รับผลกระทบด้วย
ฟันแตกเกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร?
การรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิต่างกันอย่างฉับพลัน เช่น กินซุปร้อนๆ แล้วตามด้วยดื่มน้ำเย็นจัดทันที
ฟันมีรอยอุดขนาดใหญ่ ทำให้โครงสร้างความแข็งแรงของฟันซี่นั้นลดลง
การเคี้ยวของแข็ง เช่น น้ำแข็ง ลูกอม กระดูก ถั่ว เมล็ดพืช
ประสบอุบัติเหตุอย่างแรง เช่น รถชน การล้ม ถูกของแข็งกระแทก
วิธีการป้องกัน มีดังนี้
ดูแลสุขภาพฟันและช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอด้วยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันและขูดหินปูนทุก 6 เดือน
หมั่นสังเกตฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบฟันแตกหรือมีรอยร้าว ควรรีบไปพบทันตแพทย์
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ
สวมฟันยางเมื่อเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทกบริเวณฟัน เช่น ชกมวย เทควันโด
ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อรักษาอาการนอนกัดฟัน
เมื่อฟันแตก…รักษาอย่างไร?
หากเกิดการฟันแตก มีวิธีรักษาได้หลายวิธี เช่น
การครอบฟัน จะใช้รักษากรณีที่ฟันแตกทะลุโพรงประสาทฟัน หรือมีรอยแตกร้าวรุนแรง การครอบฟันจะช่วยปกป้องฟันและป้องกันไม่ให้รอยแตกขยายใหญ่ขึ้น
รักษารากฟัน จะเป็นการทำทันตกรรมในกรณีที่ฟันแตกทะลุโพรงประสาทฟัน และต้องทำการกำจัดอาการติดเชื้อที่เกิดขึ้น และป้องกันการสูญเสียฟันซี่นั้น โดยทันตแพทย์จะทำการทำความสะอาดคลองรากฟัน นำเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายออก และอุดคลองรากฟันเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าสู่โพรงประสาท
การอุดฟัน จะเป็นการทำทันตกรรมเมื่อมีฟันแตกลึกหรือฟันมีรอยแตกร้าว โดยใช้การอุดฟันเพื่อซ่อมแซมรอยแตกและเสริมความแข็งแรงให้กับฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟัน เช่น วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน หรือวัสดุอมัลกัมสีเงิน อุดลงไปในบริเวณที่แตกให้ค่ะ
การดูแลหลังทำครอบฟัน
แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
การครอบฟัน คือการใส่ฟันแบบติดแน่น ทำให้ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ หลังจากการครอบฟัน สามารถใช้ฟันได้เป็นปกติ แต่การครอบฟันนั้นไม่ได้หมายความว่าฟันจะถูกปกป้องจากฟันผุและโรคเหงือก ดังนั้น ยังคงต้องรักษาสุขอนามัยของช่องปากให้ดีอยู่เสมอ โดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันโดยเฉพาะบริเวณที่มีการครอบฟัน รวมไปถึงการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวของแข็ง
อายุการใช้งานของฟันที่ครอบนั้นจะอยู่ระหว่าง 5-15 ปี แล้วแต่ลักษณะการใช้การงาน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขอนามัยของช่องปากและนิสัยการบดเคี้ยว เช่น การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือใช้ฟันเปิดหรือฉีกผลิตภัณฑ์อาหาร
อ้างอิง:
อัตราค่ารักษาศูนย์ทันตกรรมปลอดเชื้อ
https://www.nonthavej.co.th/Dental.php