สารบัญ
- ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) มีอาการอย่างไร ?
- ใครเสี่ยงมีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) บ้าง ?
- “กลืนลำบาก (Dysphagia) ” ส่งผลเสียอย่างไร ? / และต้องทำอย่างไร ?
- ปัญหาเหล่านี้ แก้ได้ด้วย “การฝึกกลืน”
- ฝึกกลืน คืออะไร ?
- ฝึกกลืนอย่างไรถึงจะเห็นผล?
- การฝึกกลืนด้วย VitalStim คืออะไร ?
- VitalStim มีข้อดีอย่างไร ?
- ข้อมูลอ้างอิง
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) มีอาการอย่างไร ?
คุณมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ? หากตอบ “ใช่” คุณกำลังมี “ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)”
กลืนลำบาก/ กลืนติด/ ต้องกลืนซ้ำหลายครั้ง
ใช้เวลากลืนนานกว่าปกติ
กลืนแล้วเสียงแหบ/ เสียงเครือ
กระแอมหลังกลืนบ่อยๆ
ไอก่อนกลืน/ ไอขณะกลืน/ ไอหลังกลืน
มีภาวะปอดอักเสบใน 1 ปีที่ผ่านมา
น้ำลายไหลย้อยจากปากแบบควบคุมไม่ได้
ใครเสี่ยงมีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) บ้าง ?
เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง
เคยได้รับบาดเจ็บที่สมอง
เป็นโรคพาร์กินสัน
เป็นโรคสมองเสื่อม/ อัลไซเมอร์
เป็นมะเร็งคอ, ช่องปาก, หลอดอาหาร
ผู้สูงอายุ
“กลืนลำบาก (Dysphagia) ” ส่งผลเสียอย่างไร ? / และต้องทำอย่างไร ?
เสี่ยงขาดน้ำและสารอาหาร ทำให้ติดเชื้อง่าย
เสี่ยงสำลักเข้าปอดแล้วติดเชื้อ ต้องนอนโรงพยาบาล
กังวลเวลากินอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกตัวกินคนเดียว ทำให้ความอยากอาหารลดลง เสี่ยงซึมเศร้า
อาจต้องใส่สายทางจมูกเพื่อให้อาหาร คุณภาพชีวิตลดลง
ปัญหาเหล่านี้ แก้ได้ด้วย “การฝึกกลืน”
ทำไมต้องฝึกกลืน ?
เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะขาดสารอาหาร, สำลักอาหารเข้าปอดแล้วติดเชื้อ
ฝึกกลืน คืออะไร ?
คือ การฝึกควบคุมการทำงานของปาก ลิ้น และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน โดยฝึกกับนักกิจกรรมบำบัด ที่จะช่วยแนะนำวิธีกลืนที่ถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงแนะนำการปรับระดับอาหารและน้ำที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ฝึกกลืนอย่างไรถึงจะเห็นผล?
ฝึกบ่อย ฝึกซ้ำ ฝึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายเรียนรู้และจดจำรูปแบบการทำงานที่ถูกต้อง โดยฝึก 3-5 วันต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 5-10 ครั้งขึ้นไป
ฝึกแบบกำหนดเป้าหมายเฉพาะบุคคล
เริ่มฝึกเร็ว โดยฝึกในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จะเป็นช่วงที่ร่างกายฟื้นตัวได้ดีที่สุด (golden peroid)
การฝึกกลืนด้วย VitalStim คืออะไร ?
การฝึกกลืนด้วย VitalStim คือ การใช้เครื่องกระตุ้นการกลืนด้วยไฟฟ้า (Neuromuscular Electrical Simulation : NMES) โดยผู้ป่วยออกแรงกลืนเองส่วนหนึ่งและใช้ไฟฟ้าช่วยกระตุ้นเพื่อเสริมการฟื้นตัวของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน
VitalStim มีข้อดีอย่างไร ?
มีไฟฟ้าช่วยกระตุ้น ทำให้กลืนได้ต่อเนื่องและกลืนแรงขึ้น
กำหนดเป้าหมายการฝึกเฉพาะบุคคลได้
แสดงประสิทธิภาพการกลืนด้วยภาพ เข้าใจง่าย
วัดค่าการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน (Swallowing Muscular Activity) ก่อนและหลังการฝึกได้ โดยใช้แผ่นวัดค่าไฟฟ้า sEMG
ข้อมูลอ้างอิง
พญ.ชนนันท์ ชัยดรุณ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด