โรคความผิดปกติการหลับ

โรคความผิดปกติการหลับ

   ปัญหาการนอนหลับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย,จิตใจ,การใช้ชีวิตประจำวัน,คุณภาพชีวิตและการทำงาน ปัญหาการนอนหลับเกิดได้จากคุณภาพการนอนผิดปกติหรือปริมาณการนอนที่ไม่เพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจาการอุดกั้น (obstructive sleep apnea) นอกจากเสียงกรนแล้ว ผู้ป่วยมักจะมีอาการหลับไม่ต่อเนื่อง, หยุดหายใจขณะหลับ, ออกซิเจนในเลือดต่ำขณะหลับ, ปัสสาวะบ่อย, ตื่นมาไม่สดชื่น,ปวดศีรษะ และ มีอาการง่วงกลางวันเป็นต้น  ปัจจจุบันมีข้อมูลว่าโรคดังกล่าวส่งผลต่อภาวะความผิดปกติของหัวใจ,หลอดเลือด, ความดันโลหิตสูง, หลอดเลือดสมองตีบ,เบาหวาน,กรดไหลย้อน, ความจำลดลง  หรือแม้แต่ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

   นอกจากนี้ผลที่ตามมาของการนอนหลับผิดปกติที่พบได้ยกตัวอย่าง เช่นปัญหาความง่วงนอนกลางวัน  อ่อนล้าอ่อนเพลีย ผล่อยหลับ  ซึ่งนอกจากรบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญ ต่อเรื่องการนอนหลับ

   โดยสาเหตุของความง่วงนอนกลางวันอาจเกิดจากปริมาณการนอนที่ไม่เพียงพอซึ่งอาจเกิดจากภาวะอดนอน, นอนไม่หลับ (insomnia) ,นาฬิกาชิวิตแปรปรวน (circadian rhythm disorders) หรืออาจเกิดจากคุณภาพการนอนผิดปกติซึ่งอาจเกิดจาก ปัญหาระบบทางเดินหายใจ (sleep breathing disorder) นอกจากนี้ภาวะง่วงนอนกลางวันอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่นภาวะลมหลับ(nacrolepsy) หรือรอยโรคในสมอง เป็นต้น

   ปัจจุบัน รพ. นนทเวชได้เปิดให้บริการคลีนิคโรคการนอนหลับ (Sleep disorders clinic) ซึ่งให้คำปรึกษาโรคความผิดปกติที่เกี่ยวกับภาวะการนอนในผู้ใหญ่รวมถึงการส่งตรวจวิเคราะห์การนอนหลับ (Sleep test) และพร้อมให้การรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางสาขาโรคการนอนหลับ (Sleep medicine) ซึ่งให้คำปรึกษาในปัญหาต่างๆ เช่น
  •  ภาวะนอนกรน,หยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea)
  •  ภาวะนอนไม่หลับ(Insomnia)
  •  ภาวะนาฬิกาชีวิตแปรปรวน (Circadian Rhythm Sleep-Wake disorders)
  •  ภาวะนอนละเมอ(Parasomnia)
  •  ภาวะนอนกัดฟัน (Sleep related bruxism)
  •  ภาวะการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ
  •  ภาวะนอนขากระตุก (Periodic leg movements during sleep)
  •  ภาวะขาอยู่ไม่สุขขณะหลับ (Restless legs syndrome)
  •  ภาวะง่วงนอนมากในช่วงกลางวัน (Excessive daytime sleepiness)
  •  ภาวะลมหลับ (Narcolepsy)

ผู้เรียบเรียง: นายแพทย์ สิริชัย กิตติชาญธีระ
แพทย์คลินิคโรคการนอนหลับ/ศูนย์ตรวจการนอนหลับ/ประสาทแพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท โทร.0-2596-7888